Page 140 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 140
131
หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเชื่อเช่นนี้ สามารถใช้ศักยภาพแฝงของทุกคนในองค์กรมาสร้างผลงาน สร้าง
นวัตกรรมให้กับองค์กร ท าให้องค์กรมีการพัฒนามากขึ้น
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง การจัดการกับความรู้และ ประสบการณ์ที่
มีอยู่ในตัวคนและความรู้เด่นชัด น ามาแบ่งปันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว ด้วยการผสมผสาน
ความสามารถของคนเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม มีเป้ าหมายเพื่อการพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ในปัจจุบันและในอนาคต โลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งความรู้กลายเป็น
ปัจจัยส าคัญในการพัฒนาคน ท าให้คนจ าเป็นต้องสามารถแสวงหาความรู้ พัฒนาและสร้างองค์กรความรู้
อย่างต่อเนื่อง เพื่อน าพาตนเองสู่ความส าเร็จ และน าพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้า
และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
คนทุกคนมีการจัดการความรู้ในตนเอง แต่ยังไม่เป็นระบบ การจัดการความรู้เกิดขึ้นได้ใน
ครอบครัวที่มีการเรียนรู้ตามอัธยาศัย พ่อแม่สอนลูก ปู่ย่า ตายาย ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญา ให้แก่
ลูกหลานในครอบครัว ท ากันมาหลายชั่วอายุคน โดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่นพูดคุย สั่งสอน จดจ า ไม่มี
กระบวนการที่เป็นระบบแต่อย่างใด วิธีการดังกล่าวถือเป็นการจัดการความรู้รูปแบบหนึ่ง แต่อย่างใดก็ตาม
โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ การใช้วิธีการจัดการ ความรู้แบบธรรมชาติ
อาจก้าวตามโลกไม่ทัน จึงจ าเป็นต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถท าให้บุคคลได้
ใช้ความรู้ตามที่ต้องการได้ทันเวลา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ โดยการสร้างและใช้ความรู้
ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม การจัดการ ความรู้หากไม่ปฏิบัติจะไม่เข้าใจเรื่องการจัดการ
ความรู้ นั่นคือ “ไม่ท า ไม่รู้” การจัดการความรู้จึงเป็นกิจกรรมของนักปฏิบัติ กระบวนการจัดการความรู้จึงมี
ลักษณะเป็นวงจรเรียนรู้ที่ต่อเนื่องสม ่าเสมอ เป้าหมายคือ การพัฒนางานและพัฒนาคน
การจัดการความรู้ที่แท้จริง เป็นการจัดการความรู้โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เป็นการด าเนินกิจกรรม
ร่วมกันในกลุ่มผู้ท างาน เพื่อช่วยกันดึง “ความรู้ในคน” และคว้าความรู้ภายนอกมาใช้ในการท างาน ท าให้
ได้รับความรู้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการยกระดับความรู้และน าความรู้ที่ได้รับการยกระดับไปใช้ในการท างาน
เป็นวงจรต่อเนื่องไม่จบสิ้น การจัดการความรู้จึงต้องร่วมมือกันท าหลายคน ความคิดเห็นที่แตกต่างในแต่ละ
บุคคลจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ด้วยการใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปณิธานมุ่งมั่นที่จะท างานให้
ประสบผลส าเร็จดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อด าเนินการจัดการความรู้แล้วจะเกิดนวัตกรรมในการท างาน นั่นคือ การต่อ
ยอดความรู้ และมีองค์ความรู้เฉพาะเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง การจัดการความรู้มิใช่การเอาความรู้
ที่มีอยู่ในต าราหรือจากผู้ที่เชี่ยวชาญมากองรวมกัน และจัดหมวดหมู่ เผยแพร่ แต่เป็นการดึงเอาความรู้เฉพาะ
ส่วนที่ใช้ในงานมาจัดการให้เกิดประโยชน์กับตนเอง กลุ่ม หรือชุมชน