Page 145 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 145
136
รูปแบบการจัดการความรู้ ตาม โมเดลปลาทู
ส่วนที่ 1 “หัวปลา” หมายถึง “Knowledge Vision” KV คือ เป้ าหลายของการจัดการความรู้ ผู้ใช้
ต้องรู้ว่าจะจัดการความรู้เพื่อบรรลุเป้ าหมายอะไร เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ และ
ยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างใด เช่น จัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน จัดการความรู้เพื่อพัฒนา
ทักษะชีวิตด้านยาเสพติด จัดการความรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม จัดการความรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
ชีวิตด้านชีวิตและทรัพย์สิน จัดการความรู้เพื่อฟื้นฟูขนบธรรมเนียม ประเพณี ดั้งเดิมของคนในชุมชน
เป็นต้น
ส่วนที่ 2 “ตัวปลา” หมายถึง “Knowledge Sharing” หรือ KS เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการ
แบ่งปันความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนผู้ปฏิบัติ เน้นการแลกเปลี่ยนวิธีการท างานที่ประสบผลส าเร็จ ไม่เน้นที่ปัญหา
เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีหลากหลายแบบ อาทิ การเล่าเรื่อง การสนทนาเชิงลึก การชื่นชมหรือการ
สนทนาเชิงบวก เพื่อนช่วยเพื่อน การทบทวนการปฏิบัติงาน การถอดบทเรียน การถอดองค์ความรู้
ส่วนที่ 3 “หางปลา” หมายถึง “Knowledge Assets” หรือ KA เป็นขุมความรู้ที่ได้จากการ
แลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือในการจัดเก็บความรู้ที่มีชีวิตไม่หยุดนิ่ง คือ นอกจากจัดเก็บความรู้ แล้วยังง่าย
ในการน าความรู้ออกมาใช้จริง ง่ายในการน าความรู้ออกมาต่อยอด และง่ายในการปรับข้อมูลไม่ให้ล้าสมัย
ส่วนนี้จึงไม่ใช่ส่วนที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลไว้เฉย ๆ ไม่ใช่ห้องสมุดส าหรับเก็บสะสม ข้อมูลที่น าไปใช้จริง
ได้ยาก ดังนั้น เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ จึงเป็นเครื่องมือจัดเก็บความรู้อันทรงพลังยิ่งใน
กระบวนการจัดการความรู้