Page 148 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 148

139


               2. กระบวนการจัดการความรู้

                        กระบวนการจัดการความรู้  เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าถึงขั้นตอน  ที่ท าให้
               เกิดการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้

                        1.  การบ่งชี้ความรู้  เป็นการพิจารณาว่า  เป้ าหมายการท างานของเราคืออะไร  และเพื่อให้บรรลุ

               เป้าหมายเราจ าต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไร อยู่ในรูปแบบใด อยู่กับใคร

                        2.  การสร้างและแสวงหาความรู้  เป็นการจัดบรรยากาศและวัฒนธรรมการท างานของคนใน
               องค์กรเพื่อเอื้อให้คนมีความกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้าง

               ความรู้ใหม่เพื่อใช้ในการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

                        3.  การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการจัดท าสารบัญและจัดเก็บความรู้ประเภทต่าง  ๆ
               เพื่อให้การเก็บรวบรวมและการค้นหาความรู้ น ามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว

                        4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปเอกสาร หรือ รูปแบบ

               อื่น ๆ ที่มีมาตรฐาน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและใช้ได้ง่าย
                        5.  การเข้าถึงความรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและ

               สะดวก เช่น ใช้เทคโนโลยี เว็บบอร์ด หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

                        6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  ท าให้หลายวิธีการ  หากเป็นความรู้เด่นชัด  อาจจัดท าเป็น
               เอกสาร  ฐานความรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  หากเป็นความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัวคน  อาจจัดท าเป็นระบบ

               แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมข้ามสายงาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ พี่เลี้ยงสอนงาน การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว

               เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น

                        7.  การเรียนรู้ การเรียนรู้ของบุคคลจะท าให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งจะไปเพิ่มพูน องค์
               ความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ความรู้เหล่านี้จะถูกน าไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ๆ เป็นวงจร

               ที่ไม่สิ้นสุด เรียกว่าเป็น “วงจรแห่งการเรียนรู้



                                            ตัวอย่างของการะบวนการจัดการความรู้
                                             “วิสาหกิจชุมชน”  บ้านทุ่งรวงทอง



               1.  การบ่งชี้ความรู้

                        หมู่บ้านทุ่งรวงทองเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในอ าเภอจุน จังหวัดพะเยา จากการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้
               ไปส่งเสริมให้เกิดกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นในชุมชน และเห็นความส าคัญของการรวมตัวกัน เพื่อเกื้อกูล คนในชุมชน

               ให้มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  จึงมีเป้ าหมายจะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน  จึงต้องมีการบ่งชี้

               ความรู้ที่จ าเป็นที่จะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน  นั่นคือ หาข้อมูลชุมชนในประเทศไทยมีลักษณะ
               เป็นวิสาหกิจชุมชน  และเมื่อศึกษาข้อมูลแล้วท าให้รู้ว่าความรู้เรื่องวิสาหกิจ  ชุมชนอยู่ที่ไหน  นั่นคือ อยู่ที่

               เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่มาส่งเสริม และอยู่ในชุมชนที่มีการท าวิสาหกิจชุมชนแล้วประสบผลส าเร็จ
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153