Page 152 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 152

143


               เรื่องนั้นเรียกว่า “คุณกิจ”  และในระหว่างที่เล่าจะมีการซักถามความรู้  เพื่อให้เห็น  แนวทางของการปฏิบัติ

               เทคนิค เคล็ดลับในการท างานให้ประสบผลส าเร็จ ผู้ที่ท าหน้าที่นี้เรียกว่า “คุณอ านวย” และในขณะที่เล่าเรื่อง
               จะมีผู้คอยจดบันทึก โดยเฉพาะเคล็ดลับ วิธีการท างานให้ประสบผลส าเร็จ นั่นคือ “คุณลิขิต” ซึ่งก็หมายถึง

               คนที่คอยจดบันทึกนั่นเอง  เมื่อทุกคนเล่าจบ  ได้ฟังเรื่องราว  วิธีการท างานให้ประสบผลส าเร็จแล้ว  ทุกคน

               ช่วยกันสรุป ความรู้ที่ได้จากการสรุปนี้ เรียกว่า “แก่นความรู้” นั่นเอง

               เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้

                        การจัดการความรู้  หัวใจส าคัญคือ การจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวคน  เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการ
               จัดการความรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

                        1.  การประชุม (สัมมนา ปฏิบัติการ) ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นการแลกเปลี่ยน

               เรียนรู้ร่วมกัน หน่วยงานองค์กรต่าง ๆ มีการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ในรูปแบบนี้กันมาก โดยเฉพาะ
               กลุ่มงานราชการ

                        2.  การไปศึกษาดูงาน นั่นคือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการไปศึกษาดูงาน มีการซักถาม หรือ จัดท า

               เวทีแสดงความคิดเห็นในระหว่างไปศึกษาดูงาน ก็ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน คือ ความรู้ขยายจาก

               คนไปสู่คน
                        3.  การเล่าเรื่อง  (Storytelling)  เป็นการร่วมกลุ่มกันของผู้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะคล้ายกัน

               ประมาณ  8-10  คน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการเล่าเรื่องสู่กันฟัง  การเล่าเรื่องผู้ฟังจะต้องนั่งฟังอย่างมีสมาธิ

               หรือฟังอย่างลึกซึ้งจะท าให้เข้าใจในบริบทหรือสภาพความเป็นไปของเรื่องที่เล่า  เมื่อแต่ละคนเล่าจบ  จะมี

               การสกัดความรู้ที่เป็นเทคนิค วิธีการที่ให้งานประสบผลส าเร็จออกมา งานที่ท าจนประสบผลส าเร็จเรียกว่า
               best    practice  หรือการปฏิบัติงานที่เลิศ  ซึ่งแต่ละคนอาจมีวิธีการที่แตกต่างกัน  ความรู้ที่ได้ถือเป็นการ

               ยกระดับความรู้ให้กับคนที่ยังไม่เคยปฏิบัติ  และสามารถน าความรู้ที่ได้รับประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานของ

               ตนเองได้
                        4.  ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoPS) เป็นการรวมตัวกันของคนที่สนใจ เรื่อง

               เดียวกัน  รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ผ่านการสื่อสารหลาย  ๆ

               ช่องทาง อาจรวมตัวกันในลักษณะของการประชุม สัมมนา และแลกเปลี่ยนความรู้กัน หรือการรวมตัวใน
               รูปแบบอื่น เช่น การตั้งเป็นชมรม หรือใช้เทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ในลักษณะของเว็บบล็อก

               ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ทุกที่ ทุกเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะท า

               ให้เกิดการพัฒนาความรู้ และต่อยอดความรู้

                        5.  การสอนงาน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้หรือบอกวิธีการท างาน การช่วยเหลือ ให้ค าแนะน า
               ให้ก าลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน  รวมทั้งการสร้างบรรยากาศเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้จากคนที่รู้มาก

               ไปสู่คนที่รู้น้อยในเรื่องนั้น ๆ
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157