Page 141 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 141

132


                        “การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ  น าผลจากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

               เสริมพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการชื่นชม ท าให้เป็นกระบวนการแห่งความสุข ความภูมิใจ และการ
               เคารพเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน  ทักษะเหล่านี้น าไปสู่การสร้างนิสัยคิดบวกท าบวก  มองโลก  ในแง่ดี  และ

               สร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่ผู้คนสัมพันธ์กันด้วยเรื่องราวดี ๆ ด้วยการแบ่งปันความรู้ และ แลกเปลี่ยนความรู้

               จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยที่กิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องแทรกอยู่ในการท างานประจ าทุกเรื่อง ทุก

               เวลา”
                                                                                 ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช



               ความส าคัญของการจัดการความรู้

                        หัวใจของการจัดการความรู้  คือการจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล  โดยเฉพาะบุคคลที่มี
               ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจนงานประสบผลส าเร็จ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง คนกับคน

               หรือกลุ่มกับกลุ่ม จะก่อให้เกิดการยกระดับความรู้ที่ส่งผลต่อเป้ าหมายของการท างาน นั่นคือ เกิดการพัฒนา

               ประสิทธิภาพของงาน คนเกิดการพัฒนา และส่งผลต่อเนื่องไปถึงองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลที่เกิด

               ขึ้นกับการจัดการความรู้จึงถือว่ามีความส าคัญต่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อ
               บุคคล กลุ่ม หรือองค์กร  มีอย่างน้อย 3 ประการ คือ

                        1.  ผลสัมฤทธิ์ของงาน  หากมีการจัดการความรู้ในตนเอง  หรือในหน่วยงาน  องค์กร  จะเกิด

               ผลส าเร็จที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนางานนั้นเป็นความรู้ที่ได้จากผู้ที่ผ่านการปฏิบัติ

               โดยตรง  จึงสามารถน ามาใช้ในการพัฒนางานได้ทันที  จะเกิดนวัตกรรมใหม่ในการท างาน  ทั้งผลงานที่
               เกิดขึ้นใหม่ และวัฒนธรรมการท างานร่วมกันของคนในองค์กรที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน

                        2.  บุคลากร  การจัดการความรู้ในตนเองจะส่งผลให้คนในองค์กรเกิดการพัฒนาตนเอง  และส่ง

               ผลรวมถึงองค์กร กระบวนการเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน จะท าให้บุคลากรเกิดความมั่นใจใน
               ตนเอง  เกิดความเป็นชุมชนในหมู่เพื่อนร่วมงาน  บุคลากรเป็นบุคคลเรียนรู้และส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กร

               แห่งการเรียนรู้อีกด้วย

                        3.  ยกระดับความรู้ของบุคลากรและองค์กร  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จะท าให้บุคลากรมีความรู้
               เพิ่มขึ้นจากเดิม  เห็นแนวทางในการพัฒนางานที่ชัดเจนมากขึ้น  และเมื่อน าไปปฏิบัติจะท าให้บุคลากรและ

               องค์กรมีองค์ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในเรื่องที่สามารถน าไปปฏิบัติได้  มีองค์ความรู้ที่จ าเป็นต่อการ

               ใช้งาน และจัดระบบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146