Page 168 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 168
159
ปัจจัยที่ท าให้การจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการประสบผลส าเร็จ
1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในกลุ่ม คนในกลุ่มต้องมีเจตคติที่ดีในการแบ่งปันความรู้ซึ่ง
กันและกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ให้เกียรติกัน และเคารพความคิดเห็นของคนในกลุ่มทุกคน
2. ผู้น ากลุ่ม ต้องมองว่าคนทุกคนมีคุณค่า มีความรู้จากประสบการณ์ ผู้น ากลุ่มต้องเป็นต้นแบบ
ในการแบ่งปันความรู้ ก าหนดเป้ าหมายของการจัดการความรู้ในกลุ่มให้ชัดเจน หาวิธีการ ให้คนในกลุ่มน า
เรื่องที่ตนรู้ออกมาเล่าสู่กันฟัง การให้เกียรติกับทุกคนจะท าให้ทุกคนกล้าแสดงออก ในทางสร้างสรรค์
3. เทคโนโลยี ความรู้ที่เกิดจากการรวมกลุ่มปฏิบัติการเพื่อถอดองค์ความรู้ ปัจจุบันมีการใช้
เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการจัดเก็บ เผยแพร่ความรู้กันอย่างกว้างขวาง จัดเก็บในรูปของเอกสารใน เว็บไซต์
วิดีโอ VCD หรือจดหมายข่าว เป็นต้น
4. การน าไปใช้ การติดตามประเมินผล จะช่วยให้ทราบว่า ความรู้ที่ได้จากการรวมกลุ่มปฏิบัติมี
การน าไปใช้หรือไม่ การติดตามผลอาจใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ หรือถอดบทเรียนผู้เกี่ยวข้อง ประเมินผล
จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกลุ่ม เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ของคนในกลุ่ม พฤติกรรมของ
คนในกลุ่ม ความสัมพันธ์ ความเป็นชุมชนที่รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้กันอย่างสม ่าเสมอ รวมทั้งการ
พัฒนาด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลให้กลุ่มเจริญเติบโตขึ้นด้วย
กระบวนการจัดการความรู้ด้วยกลุ่มปฏิบัติการ มีขั้นตอนดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ ส ารวจปัญหา วิเคราะห์ปัญหาภายในกลุ่ม แยกปัญหาเป็นข้อ ๆ เรียง
ตามล าดับความส าคัญ ก าหนดความรู้ที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา ความรู้นั้นอาจอยู่ในรูปของเอกสาร หรืออยู่ที่
ตัวบุคคลผู้ที่เคยปฏิบัติในเรื่องนั้นและส าเร็จมาแล้ว
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เมื่อก าหนดองค์ความรู้ที่จ าเป็นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาแล้ว
ท าการส ารวจและแสวงหาความรู้ที่ต้องการจากหลาย ๆ แหล่ง
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ น าข้อมูลที่ได้จากการแสวงหาความรู้ มาจัดให้เป็นระบบ เพื่อ
แยกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และตัดสินใจในการน าไปใช้
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ในยุคที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีการน า
เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการมากขึ้น ความรู้บางอย่างอาจล้าสมัย ใช้แก้ปัญหาไม่ได้
ในสมัยนี้ ต้องมีการประมวลและกลั่นกรองความรู้ก่อนน ามาใช้ ความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติจนประสบผลส าเร็จ
มาแล้ว ถือเป็นความรู้ที่ส าคัญเนื่องจากมีบทเรียนจากการปฏิบัติ และหากเป็นความรู้ตามที่เราต้องการก็
สามารถน ามาประยุกต์ใช้ในกลุ่มได้
5. การเข้าถึงความรู้ สมาชิกในกลุ่มทุกคนควรจะเข้าถึงความรู้ได้ทุกคน เนื่องจากทุกคนมี
ความส าคัญในการแก้ปัญหา พัฒนา รวมทั้งเป็นผู้สร้างพลังให้กับกลุ่ม การแก้ปัญหาไม่ได้ หมายความว่า
ผู้น ากลุ่มคนเดียวสามารถแก้ปัญหาได้หมด ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ความรู้ที่จ าเป็นในการ
แก้ปัญหาหรือพัฒนากลุ่ม ต้องมีการจัดการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ ได้ง่าย หากเป็นกลุ่มปฏิบัติการ