Page 164 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 164

155


                        4.  ขั้นการประมวลและกลั่นกรองความรู้  ความรู้ที่จ าเป็นอาจต้องมีการค้นคว้า  และ  แสวงหา

               เพิ่มเติม เพื่อให้ความรู้มีความทันสมัย น าไปปฏิบัติได้จริง

                        5.  การเข้าถึงความรู้ เมื่อมีความรู้จากการปฏิบัติแล้ว มีการเก็บความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สมุด
               บันทึกความรู้  แฟ้มสะสมงาน  วารสาร  หรือใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บรูปแบบเว็บไซต์    วิดีทัศน์  แถบ

               บันทึกเสียง และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นเข้าถึงได้ง่ายอย่างเป็นระบบ

                        6.  ขั้นการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน  ๆ
               หรือชุมชน เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน อาจเป็นลักษณะของการสัมมนา เวทีเรื่องเล่าแห่งความส าเร็จ การศึกษา ดูงาน

               หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

                        7.  ขั้นการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องน าเสนอความรู้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การพบ
               กลุ่มการเข้าค่าย หรือการประชุมสัมมา รวมทั้งมีการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร เว็บไซต์

               จดหมายข่าว เป็นต้น


               ความส าเร็จของการจัดการความรู้ด้วยตนเอง

                        1.  ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามแผนพัฒนาตนเองที่ได้ก าหนดไว้

                        2.  ผู้เรียนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองเพื่อเรียนรู้วิชาต่าง ๆ อย่างเข้าใจ

                            และน ามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ าวันได้
                        3.  ผู้เรียนมีความรู้ที่ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สามารถปรับตัวให้อยู่ใน

                            สังคมได้


               ตัวอย่างการจัดการความรู้ของ “เอก 009”

                        คุณคงเคยได้ยินคนพูดว่า “ไม่มีเวลา” นี่เป็นค าพูดที่แปลกมาก เป็นค าพูดที่บอกถึง ความหมายใน
               ตัวของมันเอง โดยไม่ต้องการค าอธิบายใด ๆ ส าหรับเวลาแล้ว คนที่ไม่มีเวลาแล้ว คนที่ไม่มีเวลาคือ คนตาย

               ดังนั้น ถ้าคุณยังหายใจ แสดงว่าเวลายังเดินอยู่ แต่ไม่ต้องเร่งรีบเสียจนมากเกินไป และควรรู้ว่าตอนไหนควรรีบ

               และถ้ารีบแล้วก็ต้องท าให้ดี เพราะเวลาที่คนเราท าอะไรเร็ว ๆ มักจะมากับความลวก ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการ
               เข้าแก้ไขปัญหา ผมวิเคราะห์ดูตนเอง จึงพบว่าท าไม 1 วัน ผมจึงมีเวลาเพียงน้อยนิด ปัญหาหลัก ๆ คือ ผม

               เสียเวลาไปกับการนอนตื่นสาย เล่มเกม ดูทีวี เล่นเน็ต และขี้เกียจนั่นเอง ดังนั้น ผมจึงคิดว่า วิธีแก้อยู่ที่ตัวเรา

               เอง ผมจึงรู้ว่าเราควรท าในสิ่งที่ตรงกันข้าม นั่นคือ

                        1.  ผมตื่นเช้า ตอนแรก ๆ อาจจะยากนิดหนึ่ง เริ่มจากนอนก่อน 4 ทุ่มทุกวัน ร่างกาย จะตื่นเอง
               05.00 น. และเราก็ไม่นอนสัปหงก แต่ให้ตื่นเลย หรือถ้าเราไม่มีแรงใจ หรือไม่รู้ว่า ตื่นมาแล้วจะท าอะไรดี

               ให้เราส ารวจเน็ตว่ามีกิจกรรมอะไรดี ๆ ที่เราไปร่วมตอนเช้าได้ และนัดกลุ่ม ผู้ที่จะท ากิจกรรมในตอนเช้า

               ท าให้เรามีแรงจูงใจในการตื่นนอนเช้า กิจกรรมที่ผมท าเป็นประจ า คือ ปั่นจักรยาน หรืออาจไปวิ่งตอนเช้า

               เพื่อหากลุ่มเพื่อนใหม่ ๆ กลุ่มเพื่อนใหม่ ๆ คงน่าจะไม่ใช่รุ่นเดียวกัน แต่เป็นผู้ใหญ่ที่เราจะสามารถคุยและ
               แลกเปลี่ยนประสบการณ์การท างาน แล้วเราก็จะได้ความรู้ อะไรอีกเยอะ เปรียบเหมือนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169