Page 169 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 169

160


               การเข้าถึงความรู้ได้ง่าย คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในตัวคน การศึกษาดูงานกลุ่มอื่น การศึกษาหาความรู้จาก

               เว็บไซต์ หรือการน าเอกสารมาให้สมาชิกได้อ่าน
                        6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ในสมองคนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติไม่สามารถ

               ถ่ายทอดออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ในรูปของเอกสาร หรือสื่ออื่น ๆ ที่จับต้องได้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมี

               ความส าคัญอย่างมากในการดึงความรู้ที่อยู่ในตัวคนออกมา เป็นการต่อยอด ความรู้ให้แก่กันและกัน  การ

               แลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ร่วมกัน ท าได้หลายวิธี เช่นการประชุม สัมมนา การศึกษาดูงาน การเป็นพี่เลี้ยง
               สอนงาน หรือการรวมกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติเฉพาะเรื่องที่สนใจ

                    7.  การเรียนรู้    สมาชิกในกลุ่มเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  การได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็ถือเป็นการ

               เรียนรู้ นั่นคือ เกิดความเข้าใจและมีแนวคิดในการน าไปปรับใช้ หากมีการน าไปใช้โดยการปฏิบัติจะส่งผล
               ให้ผู้ปฏิบัติเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  เพราะในระหว่างการปฏิบัติจะมีปัญหาเข้ามาให้  แก้ไขเป็นระยะ  ๆ

               การท าไปแก้ปัญหาไป  เป็นการเรียนรู้ที่ดี  และเมื่อปฏิบัติจนเกิดผลส าเร็จ  อาจเป็นผลส าเร็จที่ไม่ใหญ่โต

               ส าเร็จในขั้นที่หนึ่ง หรือขั้นที่สอง ก็ถือเป็นผลส าเร็จจาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ best  practice ของผู้ปฏิบัติ
               นั่นเอง


               4. การสรุปองค์ความรู้และการจัดการท าสารสนเทศการจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ

               การรวมกลุ่มปฏิบัติการ
                        ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง  กลุ่มจะต้องมีการสรุปองค์ความรู้เพื่อจัดท าเป็นสารสนเทศ  เผยแพร่

               ความรู้ให้กับสมาชิกกลุ่ม  และกลุ่มอื่น  ๆ  ที่สนใจในการเรียนรู้  และเมื่อมีการด าเนินการจัดหา  หรือสร้าง

               ความรู้ใหม่จากการพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการก าหนดสิ่งส าคัญที่จะเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ และต้องพิจารณาถึง
               วิธีการในการเก็บรักษาและน ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความต้องการ ซึ่งกลุ่ม ต้องจัดเก็บองค์ความรู้ไว้ให้

               ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารสนเทศ การวิจัย การพัฒนา โดยต้อง ค านึงถึงโครงสร้างและสถานที่หรือ

               ฐานของการจัดเก็บ ต้องสามารถค้นหาและส่งมอบให้อย่างถูกต้อง มีการจ าแนกหมวดหมู่ของความรู้ไว้อย่าง
               ชัดเจน


               การสรุปองค์ความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ

                        การจัดการความรู้กลุ่มปฏิบัติการ เป็นการจัดการความรู้ของกลุ่มที่รวมตัวกัน  มีจุดมุ่งหมายของ

               การท างานร่วมกันให้ประสบผลส าเร็จ ซึ่งมีกลุ่มปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า “ชุมชนนักปฏิบัติ” เกิดขึ้นอย่าง

               มากมาย เช่น กลุ่มฮักเมืองน่าน กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเลี้ยงกบ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่ม สัจจะออมทรัพย์ หรือ
               กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน กลุ่มเหล่านี้พร้อมที่จะเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

                        องค์ความรู้จึงเป็นความรู้และปัญญาที่แตกต่างกันไปตามสภาพและบริบทของชุมชน  การสร้าง

               องค์ความรู้หรือชุดความรู้ของกลุ่มได้แล้ว จะท าให้สมาชิกกลุ่มมีองค์ความรู้หรือชุดความรู้ ไว้เป็นเครื่องมือ
               ในการพัฒนางาน  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น  หรือกลุ่มอื่นอย่างภาคภูมิใจ  เป็นการต่อยอดความรู้
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174