Page 167 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 167

158


                        1.  การก าหนดความรู้หลักที่จ าเป็นหรือส าคัญต่องาน หรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

                        2.  การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
                        3.  การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

                        4.  การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมงานของตน

                        5.  การน าประสบการณ์จากการท างาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                            และสกัดขุมความรู้ ออกมาบันทึกไว้
                        6.  การจัดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” ส าหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุด

                            ความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึก และเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากขึ้น


                        การจัดการความรู้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ต้องการ เริ่มจากการก าหนด “เป้ าหมายของงาน” นั่นคือ

               การบรรลุผลสัมฤทธิ์ ในการด าเนินการตามที่ก าหนดไว้  คือ
                        1.  การตอบสนอง คือ การสนองตอบความต้องการของทุกคนที่เกี่ยวข้อง

                        2.  การมีนวัตกรรม คือ  1) นวัตกรรมในการท างาน 2) นวัตกรรมทางผลงาน

                        3.  ขีดความสามารถ คือ การมีสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเอง
                        4.  ประสิทธิภาพ คือ องค์ความรู้  หรือคลังความรู้


               การจัดท าสารสนเทศการจัดการความรู้ด้วยตนเอง
                        การจัดการความรู้ด้วยตนเอง  องค์ความรู้ก็ยังอยู่ในสมองคนในรูปของประสบการณ์จากการ

               ท างานที่ประสบผลส าเร็จนั้น เราต้องมีการถอดองค์ความรู้ซึ่งอาจไหลเวียนองค์ความรู้จาก คนสู่คน หรือจาก

               คนมาจัดท าเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและน าไปสู่การปฏิบัติได้โดยการ
               น าความรู้ที่ได้มาจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ของความรู้ การชี้แหล่งความรู้ การสร้าง เครื่องมือในการเข้าถึงความรู้

               การกรองความรู้  การเชื่อมโยงความรู้  การจัดระบบองค์ความรู้ยังหมายรวมถึงการท าให้ความรู้ละเอียด

               ชัดเจนขึ้น องค์ความรู้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บันทึกความรู้ แฟ้มสะสมงาน เอกสารจากการถอด

               บทเรียน แผ่นซีดี เว็บไซต์ เว็บบล็อก เป็นต้น

               3. กระบวนการจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ
               กระบวนการจัดการความรู้ด้วยกลุ่มปฏิบัติการ

                        ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนั้น ปัญหาจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เราจ าเป็นต้องมีความรู้ที่

               หลากหลาย ความรู้ส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของเอกสาร ต ารา หรืออยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เทป วิดีโอ
               แต่ความรู้ที่มีอยู่มากที่สุดคืออยู่ในสมองคน  ในรูปแบบของประสบการณ์  ความจ า  การท างานที่ประสบ

               ผลส าเร็จ  การด ารงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันจ าเป็นต้องใช้ความรู้อย่างหลากหลาย  น าความรู้หลายวิชามา

               เชื่อมโยง บูรณาการให้เกิดการคิด วิเคราะห์ สร้างความรู้ใหม่จากการแก้ ปัญหาและพัฒนาตนเอง ความรู้

               บางอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาในระดับ กลุ่ม องค์กร หรือชุมชน ดังนั้นจึงต้องมี
               การรวมกลุ่มเพื่อจัดการความรู้ร่วมกัน
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172