Page 29 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 29

ี่
               8. คุณลักษณะทพึงประสงค์/ค่านิยม 12 ประการ (Desirable Characteristics/The twelve values)
                   1.  มีวินัย
                   2.  ใฝ่เรียนรู้
                   3.  มุ่งมั่นในการทำงาน

                   4.    มีจิตวิทยาศาสตร์

               9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments )

                   ผังมโนทัศน์

               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)


                   ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction)
                   1. ครูถามคำถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
                   – ยกตัวอย่างอาหารที่ใช้ประโยชน์จากการทำให้วัสดุร้อนขึ้น (แนวคำตอบ กล้วยปิ้ง)
                   – ยกตัวอย่างอาหารที่ใช้ประโยชน์จากการทำให้วัสดุเย็นลง (แนวคำตอบ ไอศกรีม)

                   2. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้
               เรื่อง การใช้ประโยชน์จากการทำให้วัสดุร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง

                     ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Teaching Method)
                      จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                      1. ครูถามคำถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น นักเรียนจะเปลี่ยนน้ำให้เป็นน้ำแข็งได้ด้วยวิธีใด
                          (แนวคำตอบ นำน้ำไปแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น)

                      2. นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน

                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
                       1. ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากการทำให้วัสดุร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง จากใบความรู้

               หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า วัสดุแต่ละชนิดมีค่าจุดเดือดและจุดหลอมเหลวคงที่
               เสมอ เช่น เหล็กมีจุดหลอมเหลวที่ 1,540 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เหล็กเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็น

               ของเหลว ถ้าเราต้องการทำให้เหล็กมีรูปทรงต่าง ๆ เราต้องให้ความร้อนสูง ๆ เพื่อทำให้เหล็กหลอมเหลวแล้ว
               นำไปเทลงในแบบตามรูปทรงที่ต้องการการทำให้แก้วมีรูปทรงต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน เราต้องใช้ความร้อนสูง เพอ
                                                                                                        ื่
               ทำให้แท่งแก้วหลอมเหลว เราสามารถนำแท่งแก้วที่หลอมเหลวมาเป่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวด แก้ว และ

               หลอดทดลอง
                       2. ครูให้นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนสถานะของเทียนไข โดยนำเทียนไขมาปักไว้บนดินน้ำมัน แล้วจุดไฟ

               สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเทียนไขเมื่อได้รับความร้อนจากเปลวไฟ จากนั้นดับไฟและตั้งเทียนไขทิ้งไว้ 5 นาที
               สังเกตและบันทึกผล

                       3. ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาส
               ให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34