Page 56 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 56

47





                                                      ลายสือไทยที่พ่อขุนรามค าแหงมหาราชทรงคิดประดิษฐ์

                                                  ขึ้นนั้น ลักษณะรูปสัณฐานของเส้นอักษร และอักขรวิธีที่ใช้
                                                  เป็นเอกลักษณ์ มีปรากฏเฉพาะในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึก


                                                  พ่อขุนรามค าแหงมหาราชเป็นหลักแรก ลักษณะของลายสือ
                                                  ไทย แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามค าแหง

                                                  มหาราชที่ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ทรงวินิจฉัย

                                                 และทรงปรุงแต่งรูปแบบอักษรให้มีลักษณะบ่งบอกความเป็น


                 (ที่มาภาพ : https://www.baanjomyut.com/    ไทยอย่างแท้จริง และเป็นแบบอย่างให้คนในชาติได้เรียนรู้
                 library_2/king_ramkhamhaeng_inscription  ศึกษา และใช้สืบทอดต่อมา
                 /
                                พ่อขุนรามค าแหงมหาราชทรงก าหนดให้มีวิธีเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์

                  อยู่ในบรรทัดเดียว เป็นอักษรตัวตรง คือ เส้นอักษรลากขึ้นลงเป็นเส้นตรง ส่วนเส้นลากขวางโค้ง

                  มนเล็กน้อย รูปอักษรจึงมีทรงสี่เหลี่ยม หรือที่เรียกว่า อักษรตัวเหลี่ยม























                                      (ที่มาภาพ : https://www.dek-d.com/board/view/1237110/)


                                อิทธิพลของลายสือไทย ได้เผยแพร่ไปสู่อาณาจักรข้างเคียงเพียงช่วงระยะเวลา
                  สั้น ๆ ประมาณหนึ่งศตวรรษ จากนั้นลักษณะของรูปแบบอักษรก็ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตาม

                  การใช้ภูมิภาคนั้น ๆ จนปรากฏเป็นรูปอักษรแบบใหม่ขึ้นแทนลายสือไทย เช่น ในอาณาจักร

                  ล้านนาได้เปลี่ยนไปเป็นอักษรไทยล้านนา หรืออักษรฝักขาม และในอาณาจักรศรีอยุธยาได้

                  เปลี่ยนไปเป็นอักษรไทยอยุธยา และสืบต่อมาเป็นอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61