Page 59 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 59
50
1. ชนิดเนื้ออ่อนหรือเนื้อดิน ได้แก่ ภาชนะที่เนื้อดินมีความพรุนตัวค่อนข้างมาก
สามารถดูดซึมน้ าได้ ใช้ความร้อนในการเผาด้วยอุณหภูมิต่ ากว่า 600 องศาเซลเซียส มีเนื้อดิน
สีส้มอมแดง ผิวด้านนอกไม่เคลือบ แต่บางชิ้นมีการขัดผิวให้มันแล้วชุบน้ าดินสีแดง การตกแต่ง
ลวดลายที่พบมากเป็นลายเชือกทาบ และลายขูดหรือลายขีดลงไปในเนื้อดิน
2. ชนิดเนื้อแข็งหรือเนื้อหิน ได้แก่ ภาชนะที่มีเนื้อแน่น แข็ง น้ าและของเหลว
ไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ เวลาเคาะมีเสียงกังวาน ใช้ความร้อนในการเผาด้วยอุณหภูมิ
อยู่ระหว่าง 600 - 1,100 องศาเซลเซียส สังคโลกเนื้อหิน มีทั้งเคลือบขี้เถ้า การตกแต่งลายทั้ง
ขูดขีดลายลงไปในเนื้อดินและการปะติดลวดลายลงไปบนผิว รูปทรงที่พบ ได้แก่ ครก สาก ไห
ปากผายคอยาว โอ่งต่าง ๆ สังคโลกประเภทนี้พบมากที่เตาบ้านเกาะน้อย
2.1 ประเภทไม่เคลือบน้ ายา ส่วนมากมีเนื้อดินสีเทาและสีเทาอมม่วง
ผิวค่อนข้างด้าน มีบางชิ้นที่ผิวออกมันและมีร่องรอยคล้ายเคลือบน้ ายาเป็นจุดประ ซึ่งเป็นการ
เคลือบเองโดยธรรมชาติระหว่างการเผา ที่เรียกว่าเคลือบขี้เถ้า การตกแต่งลายมีทั้งขูดขีดลาย
ลงไปในเนื้อดิน และการปะติดลวดลายลงไปบนผิว รูปทรงที่พบได้แก่ ครก สาก ไห ปากผาย
คอยาว โอ่งต่าง ๆ สังคโลกประเภทนี้พบมากที่เตาบ้านเกาะน้อย
2.2 ประเภทผิวเคลือบน้ ายา (อุณหภูมิการเผาเกิน 1,200 องศาเซลเซียส)
แบ่งตามลักษณะของสีและการตกแต่งลวดลายได้ดังนี้
2.2.1 ชนิดเคลือบน้ ายาสีเขียว มีตั้งแต่สีเขียว สีฟ้า สีเงินอมฟ้า สีเขียว
มรกต สีทั้งหมดนี้จัดอยู่ในตระกูล เซลาดอน มีทั้งลวดลาย และไม่มีลวดลาย พวกมีลวดลายก็คือ
มีลวดลายบนภาชนะแล้วเอาไปเคลือบน้ ายา ผลิตมากที่เตาป่ายาง และเตาเกาะน้อย
2.2.2 ชนิดเคลือบสีน้ าตาล สีของน้ ายาเคลือบมีสีน้ าตาลอ่อน จนถึง
น้ าตาลเข้ม ใช้เคลือบภาชนะหลายชนิด เช่น ครก คณฑี ตะเกียง ไหขนาดเล็ก - ใหญ่ โอ่ง ตุ๊กตา
ขนาดเล็ก ผลิตที่เตาป่ายางและเตาเกาะน้อย
2.2.3 ชนิดตกแต่งลวดลายด้วยการขูดลงไปในเนื้อดิน แล้วเคลือบสองสี
ส่วนใหญ่เป็นลายพันธุ์ไม้เลื้อย แล้วน าไปชุบน้ าละลายดินชั้นหนึ่ง ก่อนที่จะชุบน้ าเคลือบ สีอ่อน
เป็นพื้น เช่น สีครีมขาว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีภาชนะเขียนลายใต้เคลือบ คือ การเขียนลายก่อนชุบเคลือบ
แล้วน าไปเผา ลวดลายที่เขียนจะมีสีน้ าเงินเข้ม ด า น้ าตาล สังคโลกชนิดนี้จะงดงามมาก และมี
ราคาแพง