Page 62 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 62

53





                  ตัวชี้วัดหนึ่งของคนพูดภาษาไทยสยามส าเนียงสุโขทัย ในชุมชนที่อยู่นอกเหนือพื้นที่จังหวัด

                  สุโขทัย เช่น ต าบลสะเดียง อ าเภอเมือง เพชรบูรณ์ ชุมชนรอบ ๆ วัดพระมหาธาตุเมืองฝาง
                  สวางคบุรี ต าบลผาจุก อ าเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ต าบลทุ่งยั้ง อ าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์


                  ซึ่งชุมชนตัวอย่างนี้พูดภาษาไทยสยามส าเนียงสุโขทัย และมีพิธีกรรมมงคลสมรสที่เรียกว่า
                  “กินสี่ถ้วย” ต่างไปจากพิธีมงคลสมรสของชาวล้านนา ชาวล้านช้าง หรือชาวจีน และชาวอินเดีย


                              1.7 ดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านสมัยสุโขทัย


                              มีค าที่พบในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามค าแหงมหาราช ด้านที่ 2 บรรทัด

                  ที่ 18 – 19 กล่าวว่า “ด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ”

                              ในกลุ่มค าคู่แรก คือ “เสียงพาดเสียงพิณ” แยกออกได้เป็น 2 ค า คือ เสียงพาดหรือ

                  เสียงพาทย์ เป็นเสียงเครื่องดนตรีประกอบเครื่องตี และเสียงพิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภท

                  เครื่องดีด กลุ่มค าคู่หลัง คือ “เสียงเลื้อนเสียงขับ” แยกได้ออกเป็น 2 ค า เช่นเดียวกัน หมายถึง
                  การร้องเพลง 2 ประเภท กล่าวคือ เสียงเลื้อน หมายถึง การเล่นเพลงตอบโต้โดยใช้ไหวพริบ


                  ปฏิภาณ และความรู้รอบตัว สร้างบทเพลงแบบกลอนสด ร้องตอบโต้กัน มีลูกคู่ในฝ่ายของ
                  คนร้องประกอบ ไม่ต้องการเครื่องดนตรีนอกจากการให้จังหวะโดยการปรบมือ ส่วน เสียงขับ

                  หมายถึง การร้องเพลงร่วมกับดนตรีที่เรียกกันทั่วไปในปัจจุบันว่า ร้องส่ง

                              นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ให้ความหมายว่า เลื้อน หมายถึง

                  ร้องเอื้อน หรือ ขับ หมายถึง ร้องเป็นเนื้อ

                              เครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย ได้แก่ วงแตรสังข์ ที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธีต่าง ๆ

                  ประกอบด้วย แตรงอน ปี่ไฉนแก้ว กลองชนะ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก วงปี่พาทย์เครื่องห้า

                  ประกอบด้วย ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดนตรี เช่น พิณ และ

                  ซอสามสาย อยู่ในสมัยนั้นอีกด้วย

















                                         (ที่มาภาพ : https://thaimusicyoume.wordpress.com)
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67