Page 57 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 57
48
1.4 ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง เป็นชื่อที่สมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อไว้
จึงรู้จักแพร่หลาย และเรียกชื่อนี้มากกว่าจะเรียกชื่อว่า ไตรภูมิกถา ตามที่ระบุไว้ในบานแพนก
หรือสารบาญเรื่อง
ไตรภูมิพระร่วงเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไท เมื่อปี
พ.ศ. 1888 ครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นเวลา
ถึง 6 ปี เนื่องจากเป็นหนังสือที่ศึกษาและเรียบเรียงสาระส าคัญจากคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์
ได้รจนาไว้ มีจ านวนถึง 32 คัมภีร์ แสดงถึงพระจริยาวัตรในการศึกษาพระธรรมและพระราช
อุตสาหะที่ฝักใฝ่ในธรรมะของพระพุทธองค์
ไตรภูมิพระร่วงจึงมีธรรมะที่ครอบคลุมพระไตรปิฎก ทั้งพระสุตตันตปิฎก
พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ทรงพระราชนิพนธ์โดยเรียบเรียงให้เห็น “ความเป็นจริง”
ในทุกแง่ทุกมุม จึงได้รับยกย่องว่าเป็นวรรณคดีชิ้นเอกของไทย มีคุณค่าและมีอิทธิพลต่อคนไทย
และสังคมไทยมากว่า 700 ปี สะท้อนให้เห็นว่าพระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเป็นกษัตริย์
นักปราชญ์ และนักปกครองแห่งกรุงสุโขทัย คนไทย และสังคมไทย มีความสงบสุข ด้วยเหตุ
ปัจจัยจากอิทธิพลของไตรภูมิพระร่วง และมีอิทธิพลต่อด้านภาษา ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์
การหล่อหลอมค่านิยม อุดมคติ อุดมการณ์ และศีลธรรมจริยธรรม
พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงมีพระราชประสงค์ในการแต่งเรื่องนี้ ดังที่ระบุไว้ใน
บานแพนกว่า “ไตรภูมิกถานี้มูนใส่เพื่อใดสิ้น ใส่เพื่อมีอรรถพระอภิธรรมจะใคร่เทศนาแก่
พระมารดาท่านอันหนึ่ง เมื่อจ าเริญพระธรรมโสด” สรุปได้ว่า
1. เพื่อเผยแพร่พระอภิธรรม ซึ่งเป็นหลักการส าคัญในทางพระพุทธศาสนา
2. เพื่อเป็นบทเรียนพระอภิธรรมแก่พระราชมารดาของพระองค์
อนึ่ง นักวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์ไตรภูมิพระร่วงเชิงประวัติศาสตร์ และมี
ความเห็นว่า จุดประสงค์ของการแต่ง คือ เพื่อสร้างบารมีก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และแสดงให้
ประจักษ์ว่าทรงเป็น “จักรพรรดิราช”
1.5 เครื่องสังคโลก
สังคโลกหรือเครื่องสังคโลก เป็นค าที่ชาวไทยรู้จักกันดีในนามของวัตถุโบราณที่มี
คุณค่ายิ่ง มีลักษณะเป็นถ้วยชามสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับสถาปัตยกรรม สิ่งผลิต