Page 43 - Bright Spot 2562
P. 43
31
31
ผลการดำาเนินงาน
1. วิธีการประเมิน มีการวัดผลทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดย
รายบุคคล ใช้แบบสอบถามบุคลากรทุกคน ถึงการทำาสมาธิที่บ้าน ที่ทำางาน และ
การใช้สติในการทำางาน ตลอดจนความสุข ความผูกพันที่มีต่อบุคคล และโรงพยาบาล
ปีละหนึ่งครั้ง
รายหน่วยงาน วัดทุก 6 เดือน ตามตัวชี้วัดร่วมที่กำาหนดขึ้น เป็นค่าคะแนนบันได
ความสำาเร็จ 5 ขั้น เริ่มจากการทำาสมาธิก่อนหลังการทำางาน / มีการนำาสติไปบูรณาการ
กับ Happy 8 หรือ HPH , ENV / นำาสติไปใช้กับผู้รับบริการ/มีบุคคลต้นแบบ และมี
นวัตกรรม
ในส่วนขององค์กร มองผลลัพธ์ในภาพรวมจากผลลัพธ์รายบุคคลและทีมงาน
การวัดผลเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร ที่มา
จากการเขียนเรื่องเล่าผลของการนำาสติไปใช้ จากการเข้าไปเยี่ยมเสริมพลังของคณะ
ผู้บริหาร จากผลการบำาบัดของผู้ป่วยกลุ่มต่าง ๆ หรือบรรยากาศการประชุมที่ความขัดแย้ง
ลดลง การ burn out ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลดลง หรือเสียงบ่นที่น้อยลง
2. ผลของการเปลี่ยนแปลง
ในภาพรวมขององค์กร พบว่าบุคลากรมีความสุขเพิ่มขึ้น ความผูกพันต่อบุคคล
ทีมและองค์กรเพิ่มขึ้น ด้านทีมงานและองค์กร พบว่าบุคลากรทำางานร่วมกันอย่าง
กัลยาณมิตร ความขัดแย้งลดลง ร่วมใจสร้างสรรค์ผลงานพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เช่น ตึกชาย 4 ให้ผู้ป่วยทำาสมาธิแล้วลดปัญหาผู้ป่วยหลบหนีลงได้ ตึกหญิง 5 ให้ผู้ป่วย
ทำาสมาธิทุกวันแล้วพบว่าผู้ป่วยหงุดหงิดก้าวร้าวลดลง จำานวนวันนอนเฉลี่ยลดลง หรือ
ให้ผู้บำาบัดยาเสพติดเข้าร่วมกลุ่มสติบำาบัด พบว่าหลังจากกลับบ้านไปไม่เสพยาซำ้าร้อยละ
100 ข้อร้องเรียนจากพฤติกรรมลดลง นวัตกรรม เรื่องสติสร้างสุขภาษามือ ได้รับรางวัล
นวัตกรรมดีเด่นของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 กลุ่มการพยาบาลได้รับรางวัลชนะเลิศ
ในการประกวด การพัฒนาระบบและกลไกจริยธรรมทางการพยาบาล ประจำาปี 2562
จากสภาการพยาบาล ในผลงานชื่อ สติจริยสนทนา และรางวัลหน่วยงานจริยธรรม
คุณธรรมดีเด่น กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2554 – 2559 (6 ปีติดต่อกัน) และปี 2561
เป็นต้น