Page 14 - แฟ้มประเมินด้านที่ 1 ตัวชี้วัด 1.3
P. 14
๕
ณรุทธ์ สุทธจิตต์, (2541: 81 – 88) กล่าวว่าในทางจิตวิทยา ทฤษฎีการเรียนรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น
4 กลุ่มใหญ่ๆ คือทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ทฤษฎีการเรียนรู้
กลุ่มปัญญาสังคมและทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม รวมถึงแนวคิดของบรูเนอร์(Bruner) ซึ่งสามารถน ามา
ประยุกต์ใช้ในการสอนดนตรี
1) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)อธิบายการเรียนรู้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งเร้าและการตอบสนองเป็นหลัก ทฤษฎีนี้เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นในสภาพของการวางเงื่อนไขโดยใช้การ
เสริมแรงการให้รางวัล และการลงโทษอันเป็นตัวก าหนดให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่ต้องการออกมา ซึ่ง
เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดทั้งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและตัวเสริมแรงที่น ามาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ นักจิตวิทยาคนส าคัญ
่
ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก พาฟลอฟ ( Ivan P.Pavlov) วัตสัน (John B.Watson) และสกินเนอร์
(Burrhus F.Skinner) สิ่งที่ได้จากทฤษฎีนี้คือ การเรียนการสอนดนตรี ครูควรใช้การเสริมแรงซึ่งอาจเป็นรางวัล
ในรูปแบบใดกับผู้เรียนเมื่อผู้เรียนปฏิบัติในสิ่งที่ผู้สอนมุ่งหวังได้ ทั้งนี้ต้องยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก
และควรให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนสิ่งนั้นๆเสมอๆเพื่อกันลืม พยายามให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองโดยให้ตอบสนอง
ในหลายๆ รูปแบบ ทั้งนี้ผู้สอนควรมีหลักในการที่แนะน าผู้เรียนเป็นครั้งคราว
2.) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivsm) อธิบายว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
ื่
กับเรื่องของการสร้างแนวคิดหรือความเข้าใจเพอใช้แทนประสบการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ตนได้ประสบมา
เนื่องจากการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางปัญญาที่ลึกซึ้งในบางโอกาสการเรียนรู้อาจเกิดขึ้นในฉับพลันทันที ซึ่ง
เรียกว่าการเรียนรู้แบบยั่งยืน (insight learning)อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากประสบการณ์
เดิมและความสามารถในการคิดหาเหตุผลของบุคคลบุคคลนั้น นักจิตวิทยาคนส าคัญในกลุ่มปัญญานิยม บรู
เนอร์(JeromeS.Bruner)และออสซุเบล(David P Ausubel) สาระส าคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มปัญญา
นิยม