Page 6 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 6
๑
ส่วนที่ ๑
บทนำ
๑.๑ที่มาและความสำคัญ
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นเครื่องมือที่ทําให้เห็นรากเหง้าของตนเอง เพื่อให้เกิดจิตสํานึกเห็นคุณค่า
ความภูมิใจ ศักดิ์ศรีของ ตนเองและมความภาคภูมิใจในท้องถิ่นหรือชุมชนที่ตนอยู่ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจาก
ี
บรรพบุรุษ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารมากมาย เรามีโอกาสได้อ่าน ได้ฟังเรื่องราว
ประสบการณ์ แปลกๆ ใหม่ๆ ของคนอื่นมากมาย ซึ่งทําให้มีโอกาสที่จะไปหยิบคว้าความคิดริเริ่มของคนต่างที่
ต่าง ถิ่นมาใช้ในบ้านเรายิ่งมีมากขึ้น (สีลาภรณ์ บัวสาย, 2552) โดยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่างจาก
ประวัติศาสตร์ชาติตรงที่เรื่องราวที่ศึกษาเป็นเรื่องในท้องถิ่น เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกดจริงมีพยานหลักฐานให้
ิ
เห็นหรือพูดคุยกันได้ กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบนี้จะทําให้เห็นตัวละคร และทําให้เด็กและ
คนในชุมชนเห็นว่าตนเองหรือบรรพบุรุษตน มีอยู่ในประวัติศาสตร์ของ ไทย บรรพบุรุษเป็นส่วนหนึ่งในการ
สร้างบ้านเมือง และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนั้นๆ จึงมีผลในการ เปลี่ยนแปลงทั้งการเรียนรู้ จิตสํานึก
ความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่นหรือชุมชน และนี่เองคือ พลังที่ จะทําให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถเลือกทิศทางเดิน
ไปสู่อนาคตของตนเองได้
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ที่กล่าวมานับเป็นสิ่งที่ต้องค้นหา เพราะไม่ใช่เป็น
สิ่งที่ถูกกําหนดไว้ โดยประวัติศาสตร์ชาติ แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตและใกล้ชิดกับผู้คนจํานวนมาก จึงเป็น
ประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ จินตนาการ และมีลมหายใจ จากอดีต สู่ปัจจุบัน และอนาคต เพอหล่อ
ื่
ั
เลี้ยงจิตวิญญาณ ให้ผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ อยู่ได้อย่างมีศกดิ์ศรี มั่นคง เพียงพอที่จะเผชิญหน้ากับการ
เปลี่ยนแปลงที่กําลังมาถึง จึงจําเป็นต้องได้รับการส่งเสริม ทั้งในส่วน ของรัฐบาล และเอกชน ที่เริ่มเข้าใจถึง
ความจําเป็นของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนั้นๆ มากขึ้น (ยงยุทธ ชูแว่น, 2551) อย่างไรก็ตามการที่จะบรรลุ
เป้าหมายดังกล่าว จะต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์เสียใหม่ แล้วควรเลิกศึกษา
ื่
ื่
ประวัติศาสตร์เพอความสามัคคี หรือเพอความมั่นคงเสียที เพราะประวัติศาสตร์แบบดังกล่าวเป็นอุปสรรคมาก
ต่อการพัฒนาประชาชนให้รู้จักคิด และมีปัญญา เพอเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเกียรติของ
ื่
ตนเองที่บรรพบุรุษสร้างมาให้ เพื่อเข้าร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์สังคมไปด้วยกันอย่างเท่าเทียมกัน
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ เครื่องมือหนึ่งที่ทําให้คนเห็นรากเหง้าของตนเอง เกิดสํานึก ความเห็น
คุณค่า ความภูมิใจ และศักดิ์ศรีของสิ่งที่ตนเองมีอยู่ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษใน ท้องถิ่น ความ
ภาคภูมิใจนี้ทําให้คนเรามีความเชื่อมั่นในตัวเองว่ามีของดีอยู่ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็น โลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสาร
์
ท่วมท้น เราจะมีโอกาสได้อานได้ฟังเรื่องราวประสบการณใหม่ๆ ซึ่งทําให้ โอกาสที่จะไปหยิบไปคว้าความริเริ่ม
่
ของคนต่างชาติ เอามาใช้ในบ้านเราก็ยิ่งมีมาก และยิ่งไปกว่านั้น และมูลค่าได้ ซึ่งโครงการวิจัยประวัติศาสตร์
ท้องถิ่น โครงการหนึ่งที่ทําในเขตเมองเชียงใหม่ เมื่อปี 2546 ในชุมชน วัวลาย จึงเป็นชุมชนไทยลื้อ ที่มีภูมิ
ื
ปัญญาในการทําเครื่องเงิน ซึ่งการวิจัยของคนในชุมชนที่ร่วมกัน สืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนได้มีผลไป
ปลุกพลัง และความภาคภูมิใจถึงความยิ่งใหญ่ จนการสืบค้นรากเหง้าของตนเองยังนํามาซึ่งความรู้ว่าเรามีของ
ดีอะไรที่น่านํามาสร้างคุณค่า ชุมชนได้ประสานกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนให้ช่วยสนับสนุนการฝึกสอนทํา
เครื่องเงิน วิสาหกิจเครื่องเงินวัวลายกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ (สีลาภรณ์ บัวสาย, 2552) ทําให้ในปัจจุบันการ
ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนคงจะทําได้ยาก ด้วย บริบทที่แตกต่างและปัจจัยที่ต่างกัน