Page 10 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 10
๕
ส่วนที่ ๒
เอกสาร วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาแนวทางการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบประวัติศาสตร์
ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยศึกษาเอกสารวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
๒.๑ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรับปรุง ๒๕๖๐ สาระประวัติศาสตร์ กลุ่ม
สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
๒.๒ การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
๒.๓ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
๒.๑ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรับปรุง ๒๕๖๐ สาระประวัติศาสตร์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด จัดประชุมคณะทำงานยกร่างหลักสูตรปะวัติศาสตร์ท้องถิ่น วันที่
๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมเสมาร่วมใจ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
ึ
ร้อยเอ็ด เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง หลักสูตรแกนกลางการศกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๕๑ ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ สาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
พบว่า กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมีทั้งสิ้น ๕ สาระ ได้แก่ ๑) สาระสังคมศึกษา ๒) สาระ
ศาสนาและวัฒนธรรม ๓) สาระเศรษฐศาสตร์ ๔) สาระประวัติศาสตร์ และ ๕) สาระภูมิศาสตร์ ซึ่งสาระ
ึ
ประวัติศาสตร์นี้ จะได้ชั่วโมงแยกต่างหาก จากสาระสังคมศึกษา โดยสาระสังคมศกษา ฯ ได้ ๘๐ ชั่วโมง และ
สาระประวัติศาสตร์ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง และได้รหัสวิชาใหม่ ส (..ก..) (..ข..) (๑๐...ค...) ซึ่ง ก หมายถึง ระดับ
ช่วงชั้น , ข หมายถึง ระดับชั้น และ ค หมายถึง จำนวนวิชาที่เรียนในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ
จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๕๑ ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ สาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด จากนั้นจึงจัดทำ
เอกสารวิเคราะห์ เป็นตารางแนวขวาง ซึ่งขอนำเสนอในหน้าถัดไป