Page 8 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 8

๓

               ประวัติศาสตร์ ในท้องถิ่นอย่างแท้จริงโดย การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ ดังพบได้จากงานวิจัยของ

               อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2544) ที่ให้ความสําคัญเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน คือ การศึกษา
               ที่ผู้คนในชาติยืนอยู่ในพื้นที่ รัฐ ชาติทั้งหมดหรือพื้นที่อื่นที่สร้างได้เอง โดยการแสวงหาผ่านการศึกษาทาง
               ประวัติศาสตร์ ว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในสังคมไทยพวกเขายืนอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ของรัฐชาติตรงไหนบ้าง มี

               บางพื้นที่ ที่อยู่นอกรัฐชาติ พื้นที่เหล่านี้คือพื้นที่ของความเป็นคน เพราะพื้นที่ของรัฐชาติคือ พื้นที่ของการเป็น
               ประชากรทุกคนไม่ต้องการเป็นราษฎรธรรมดา แต่อยากมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น โดยการเรียนรู้

               ประวัติศาสตร์ช่วยให้คนเหล่านั้นรู้ความเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์
                       แต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีการกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วประเทศไม่สามารถเปิดเผย เพื่อแสดงบทบาท

               แห่งการรับใช้ชุมชนหรือประเทศชาติออกมาได้ (วิทยา เกษรพรหม, 2559) ดังนั้นจึง ควรส่งเสริมให้มีการ
               จัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อเป็นการสร้างสังคมภูมิปัญญาที่รักษา

                        ์
               เอกลักษณของท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนได้ต่อไป ทั้งยังเป็นการปลูกฝัง เยาวชนให้มีจิตสํานึกรักษาวัฒนธรรม
               ประเพณีของท้องถิ่น โดยผ่านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ อันทําให้เข้าใจชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นต่อไปได้อย่าง
               เหมาะสมโดยคํานึงถึงรากฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

               ได้มีผู้ศึกษาและทําวิจัย ดังเช่นงานวิจัยของ สุภัทรา อักกะมานัง (2554) รูปแบบการจัดการเรียนรู้
                                                                                       ้
               ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสานึกในการอนุรักษ์ทองถิ่น ที่กล่าวถึง
               รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ต่างๆ ออกมาเพื่อทําให้ชุมชนมีส่วนร่วม จึงส่งเสริมจิตสํานึกในการอนุรักษ ์
               ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นใน ชุมชนของตนเอง เพื่อให้มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และรากเหง้าของชุมนอยู่ต่อไป และ
               งานวิจัยของ ดิษยุทธ์ บัวจุม (2556) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความ

               สนใจ และทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน
               ร่วม เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยทักษะในอาชีพในท้องถิ่นที่ เป็น

               รากฐานในการศึกษาการเรียนการสอนในการพัฒนาหลักสูตร ให้มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาและชุมชน
                       จะเห็นได้ว่างานวิจัยทั้งสองเรื่องเป็นการศึกษาประเด็นของท้องถิ่น ทั้งในเรื่องทักษะอาชีพและการ

               อนุรักษ์ท้องถิ่นโดยการจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน ดังนั้น ในเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึง น่าจะมี
               ความเหมาะสมที่จะในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

                       อนึ่งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑๒ ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
               “ร้อยแก่นสารสินธุ์” ภายใต้โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษา
                                                               ั
                                                                                                 ั
               สู่การปฏิบัติ  เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามอตลักษณ์
               รายจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามนโยบาย
               กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด จึงแต่งตั้งคณะทำงานยกร่างหลักสูตรประวัติศาสตร์

                                 ็
               ท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอด และประชุมกำหนดกรอบเนื้อหาชื่อหลักสูตร “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด :
               รู้จักชุมชน ค้นหาอัตลักษณ์ สร้างสรรค์นวัตกรรม นำสู่การสร้างรายได้” ซึ่งเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

               บนฐานสมรรถนะ ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยสามารถนำเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ไปพัฒนาสู่สินค้าและบริการ
               บนฐานของทรัพยากรในชุมชนของตนต่อไป


               ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13