Page 7 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 7
๒
ซึ่งการที่จะทําให้ประวัติศาสตร์มีความสําคัญได้นั้น เราจึงควร ส่งเสริมตั้งแต่ในวัยเด็ก จึงเกิดรูปแบบการมีส่วน
ร่วมของชุมชน และน่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีอีกทาง หนึ่ง จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องหันหน้าเข้าหา
ึ
ชุมชนจะดีกว่า ซึ่งวิธีนี้จะสามารถทําได้ง่ายกว่า เพราะโดยปกติแล้วชุมชนจะมีความคาดหวังกับสถานศกษา
ี
มากกว่าที่จะให้ศึกษาจากชุมชน เพราะ สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้ และมข้อมูลทางวิชาการมากกว่า
ชุมชน ทั้งเอกสารและทรัพยากร บุคคลสําหรับใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งหากเอาความรู้จากสถานบันเข้าหา
ชุมชน จะเป็นการ ช่วยเหลือชุมชนก่อนที่จะให้ชุมชนยื่นมือมาหาเราน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี การมีส่วนร่วม
ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน ดังงานวิจัยของ สุภัทรา อักกะมานั่ง (2554) ที่นําเอารูปแบบการวิจัยไปใช้แล้วมี
การร่วมมือกันระหว่างชุมชนกับผู้วิจัย โดยเฉพาะเทคนิคการวิจัยโดยการมีส่วนร่วม หรือการวิจัย ปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research- PAR) เพื่อให้ชุมชนได้เล็งเห็นว่าโรงเรียน มีความสนใจ
พัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิธีหนึ่งสามารถทําได้โดยการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชน เป็นฐานการ
ึ
เรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว ด้วยรูปแบบที่คุ้นเคย คือ การจัดการศกษาโดยความ ร่วมมือระหว่าง
บ้าน-วัด-โรงเรียน หรือที่เรียกย่อๆ ว่า บวร (ประเวศ วะสี, 2555) ผลการจัดการเรียนรู้ โดยความร่วมมอของ
ื
องค์กรหลักทั้งสามของชุมชน มีข้อดีอยู่บ้าง โดยเฉพาะการตอบสนองความ ต้องการในการพัฒนาคุณภาพ
สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชน และทรัพยากรเพื่อนํามาพัฒนา ซึ่ง ประเวศ วะสี (2555) เห็นว่าการจัดการศึกษา
โดยทั่วไปไม่เอาความจริงในสังคม การเป็นอยู่ร่วมกันเป็นหลัก เอาเนื้อหาวิชาเป็นหลัก จึงทําให้การศึกษาอยู่
นอกสังคม ดังนั้น จึงควรจัดการศึกษาโดยการสร้างสังคม ความรู้และสังคมภูมิปัญญา ให้เป็นแนวทางสําคัญ
ของแผนการศกษาแห่งชาติ (กล้า ทองขาว, 2556) ด้วยการอาศัยรากฐานของสังคม และบูรณาการ โดยใช้
ึ
ื่
ชุมชนของตนเองเป็นหลักเพอนํามาใช้ในการ พัฒนาการศึกษา (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552)
ึ
จากความสําคัญในการสร้างสังคมความรู้และสังคมภูมิปัญญา สามารถศกษาโดยใช้ชุมชน เป็นฐาน
การเรียนรู้ ดังพบจากงานวิจัยของ บุญเรียง ขจรศิลป์ (2553) การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้วิชา ท้องถิ่นของเรา
เรื่อง “วัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนนาโค” โดยใช้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐาน ซึ่งมี ข้อสรุปดังนี้ กระบวนการจัด
ั
หลักสูตรท้องถิ่นที่มีต่อการพฒนาการเลี้ยงโคนมทได้พัฒนาขึ้นมา สามารถนําไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
ี่
สอดคล้องกับแนวคิดในการพฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และ
ั
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ เพอตอบสนองความสนใจของผู้เรียน ชุมชน และทรัพยากร
ื่
ท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้แบบนี้ ควรเน้น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทําได้ คิด
เป็น แก้ปัญหาเป็น และรักการ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และงานวิจัยของ ประภาพรรณ อุ่นอบ (2556)
โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการภัย พิบัติทางธรรมชาติโดยมีชุมชนเป็นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การ
จัดการอทกภัยใน ปี 2554 ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีหลักให้มีหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติโดยมีชุมชนเป็นฐาน
ุ
เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่เป็นหลักสูตรที่ จากที่
กล่าวมาจะเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ใกล้ชิดกับผู้คน จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่ เต็มไปด้วยความภูมิใจของ
คนที่อยู่ในชุมชน จากอดีตสู่ปัจจุบัน และอนาคต เพอส่งเสริมจิตวิญญาณ ให้คนในท้องถิ่นหรือชุมชน อยู่อย่าง
ื่
้
มีศักดิ์ศรี มั่นคง พอที่จะแกไขปัญหาได้ จึงจําเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล และเอกชน ที่มีส่วนร่วมใน
การพัฒนาประเทศชาติ โดยใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นสื่อกลาง และได้นําการจัดการศกษาประวัติศาสตร์
ึ
ท้องถิ่น โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างภูมิปัญญาและสังคมการเรียนรู้ในชุมชน ทําให้เกิดความเข้าใจ