Page 23 - รายงานประจำปี2564 ศวก.ที่8อุดรธานี
P. 23
รายงานประจ าปี 2564 | Annual Report 2021 22
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี | Regional Medical Sciences Center 8 Udonthani
การเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารริมฟุตบาทวิถี (Street Food) ณ แหล่งท่องเที่ยวในเขตสุขภาพที่ 8
จิตติพร ศรีสร้อย, โชติวรรณ พรทุม
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมสนับสนุนนโยบาย
"ครัวไทยสู่ครัวโลก" สร้างฐานการผลิตอาหารให้เป็นที่หนึ่ง โดยค้านึงถึงคุณภาพด้านการบริการ
รสชาติ และความสะอาดเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจไทย “อาหารไทย” จึงเป็นตัวส้าคัญ
ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้อยากมาลิ้มลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารริมบาทวิถี(Street food) ที่
ก้าลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอยู่นั้น โดย Street food หรือ อาหารริมบาทวิถี เป็นอาหารที่ตั้ง
ขายข้างถนน หรือย่านชุมชน ที่มีผู้บริโภคนิยมซื้อรับประทานได้งาย ราคาสมเหตุสมผลและรสชาติ
่
อร่อย เป็นต้น ซึ่งในหลายจังหวัดของประเทศไทยมี Street food อยู่หลายแห่งที่แตกต่างกันไป
ตามเอกลักษณ์ของแต่ละท้องที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาลิ้มลอง โดยหากสุขลักษณะในการผลิต
ไม่ได้คุณภาพ อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยจากการบริโภคได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี จัดท้าโครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารริมบาทวิถี
(Street Food) ณ แหล่งท่องเที่ยวในเขตสุขภาพที่ 8 โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ คือ เพื่อทราบ
สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบาทวิถี (Street Food) ณ แหล่งท่องเที่ยว ในเขตสุขภาพที่
8 และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านความปลอดภัยอาหารให้กับผู้ประกอบการอาหารบาทวิถี (Street
Food) ณ แหล่งท่องเที่ยวในเขตสุขภาพที่ 8 วิธีด้าเนินการมีการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร
จากร้านต่างๆ ที่คนนิยมซื้อรับประทาน ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 จ้านวน 35
ตัวอย่าง โดยเก็บในเขตสุขภาพที่ 8 พื้นที่ 7 จังหวัดๆละ 5 ตัวอย่าง แบ่งเป็น อาหารพร้อม
บริโภค 27 ตัวอย่าง, ขนมปัง 7 ตัวอย่าง และเครื่องดื่ม 1 ตัวอย่าง น้ามาตรวจวิเคราะห์ทางจุล
ชีววิทยาด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 416 พ.ศ. 2563
จากผลการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ในการสุ่มตัวอย่างอาหารริมบาทวิถี พบอาหารไม่
ผ่านเกณฑ์ 9 ตัวอย่าง(ร้อยละ 25.71) โดยพบจ้านวนแบคทีเรีย 8 ตัวอย่าง จ้านวนยีสต์และรา
3 ตัวอย่าง Escherichia coli 1 ตัวอย่าง และ Coliform 1 ตัวอย่าง ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้
พบมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์สูง เนื่องจากเป็นอาหารที่ไม่ผ่านความร้อนและผ่านความร้อนไม่
เพียงพอ สุขลักษณะของผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ศูนย์ฯ ได้รวบรวม
ข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารริมบาทวิถี (Street food) เพื่อใช้ในการพัฒนา
ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการด้าเนินการให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการตระหนัก
ถึงสุขลักษณะส่วนบุคคลและกรรมวิธีการปรุงอาหารให้สะอาดเพื่อยกระดับมาตรฐานร้านอาหารของ
ตนเอง และให้อาหารมีความสะอาด ปลอดภัยเพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคต่อไป
คุณภาพทางเคมีของน้ าปลาร้าปรุงรสส าเร็จรูป เขตสุขภาพที่ 8
ั
วริศรา กาญจนะกณโห, ภัทรกานต์ พลทัสสะ