Page 26 - รายงานประจำปี2564 ศวก.ที่8อุดรธานี
P. 26
รายงานประจ าปี 2564 | Annual Report 2021 25
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี | Regional Medical Sciences Center 8 Udonthani
ุ
คุณภาพทางจลชีววิทยาของน้ าบริโภคในเขตสุขภาพที่ 8 ระหว่างปี 2562 – 2564
สุริยา สารีบุตร, โชติวรรณ พรทุม
ปัจจุบันมีผู้ผลิตน้้าบริโภคเพื่อจ้าหน่ายมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสูงขึ้น เนื่องจากหาซื้อง่าย และ
สะอาดกว่าน้้าประเภทอื่นๆ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องน้้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ฉบับที่ 61
พ.ศ. 2524 และ 315 พ.ศ. 2534 ก้าหนดให้น้้าบริโภคต้องมีมาตรฐาน ดังนั้นผู้ผลิตต้องมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้้า
เพื่อประกอบขอขึ้นทะเบียนและต้องมีการเฝ้าระวังคุณภาพน้้าบริโภคอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี จึงได้ศึกษา คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้้าบริโภค โดยแยกประเภท
เป็น น้้าทั่วไปและน้้าบริโภคในภาชนะที่บรรจุปิดสนิท ในเขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวล้าภู
เลยสกลนคร และนครพนม ระหว่างปี 2562-2564 เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้้าในกระบวนการ
ผลิตให้แก่ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการตรวจวิเคราะห์ น้้าทั่วไปจ้านวน 293, 262 และ 391 ตามล้าดับ
พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 42 ตัวอย่าง (ร้อยละ 14.5), 48 ตัวอย่าง (ร้อยละ 18.3), และ 41 ตัวอย่าง (ร้อยละ
10.5) ตามล้าดับ เชื้อปนเปื้อนมากที่สุด ได้แก่ Coliforms (14.5%, 18.3% และ 10.5%), Escherichia coli (9.6%,
6.9% และ 4.3%) เชื้อ Salmonella spp. (2.7%, 0.8% และ 0.8%) และ Staphylococcus aureus (0.7%, 0.4% และ
0.8%) ตามล้าดับ และน้้าบริโภคในภาชนะที่บรรจุปิดสนิท จ้านวน 1,251, 1,171 และ 870 ตามล้าดับ พบว่าไม่ผ่าน
เกณฑ์มาตรฐาน 220 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17.6), 183 ตัวอย่าง (ร้อยละ15.6) และ 134 ตัวอย่าง (ร้อยละ15.4)
ตามล้าดับ เชื้อปนเปื้อนมากที่สุด ได้แก่ Coliforms (17.6%, 15.6% และ 15.4%), Escherichia coli (2.2%, 2.5%
และ 0.9%) เชื้อ Salmonella spp. (0.2%, 0.2% และ 0%) และ Staphylococcus aureus (0.2%, 0.4% และ 0.1%)
ตามล้าดับ จากผลการรวบรวมข้อมูลตรวจวิเคราะห์ พบว่า ในตัวอย่างน้้าทั่วไป และตัวอย่างน้้าบริโภคในภาชนะที่บรรจุปิด
สนิท มีแนวโน้มการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ลดลง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบการปนเปื้อนของ Coliforms ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย ์
ที่บ่งชี้สุขลักษณะความสะอาดของกระบวนการผลิต และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ุ
ดังนั้นผู้ผลิตน้้าบริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยงคงต้องมีการเฝ้าระวังคณภาพน้้าให้ได้มาตรฐานอย่างสม่้าเสมอ
ั
กราฟที่ 1 แสดงผลการตรวจวิเคราะห์น้้าทั่วไป กราฟที่ 2 แสดงผลการตรวจวิเคราะห์น้้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท