Page 215 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 215

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา   201


               รายได้ให้ประเทศ โดยมีความเชื่อมโยงของการก าหนดนโยบายตลอดซัพพลายเชน น าไปสู่นวัตกรรมทาง

                                                   ั่
               เทคโนโลยีด้านยา การผลิตยา และมีความมนคงด้านยา”

                       3.  ความเป็นไปได้ของการพัฒนาโมโคลนอลแอนติบอดี กระบวนการวิจัยและพัฒนายาโมโน
               โคลนอลแอนติบอดีตั้งแต่ต้นน ้าจนกระทั่งยาออกสู่ท้องตลาด นอกจากกระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่ต้อง

               พิจารณาแล้ว ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีมีโครงสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อนจึงต้องการการควบคุมคุณภาพ

               ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย โดยต้องแสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงได้ชัดเจนในด้านคุณลักษณะทางเคมี

               กายภาพ คุณลักษณะทางชีวภาพ รวมถึงต้องใช้เงินลงทุนสูงและใช้ระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาจนได้ยา

               ออกสู่ตลาดประมาณ 8-10 ปี ปัจจุบันมีการใช้ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีในการรักษาโรคจ านวนมาก
               โดยเฉพาะโรคมะเร็ง, โรคติดเชื้อ, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิต้านทาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, และ

                                                                                      ิ
               โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ความต้องการใช้ยาในประเทศไทยมีมูลค่าสูงเมื่อพจารณามูลค่ายาน าเข้า
               เทียบกับยาที่มีการผลิตในประเทศ


                       ปัจจุบันสถานการณ์การการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีของประเทศไทยยังไม่มั่นคงนัก เนื่องจาก

               ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถท าได้ง่าย ต้องใช้เวลา เทคโนโลยี โครงสร้าง บุคลากร การผลิตจึงต้องใช้งบประมาณสูง

               และมีความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากหากก าหนดผลิตภัณฑ์ผิดพลาด ท าให้เงินลงทุนต้องสูญเสียไป โดยยัง
               ไม่ได้ผลตอบแทนในการลงทุนกลับคืนมา โครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศน์ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดียังมี

               จ ากัด รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างแล้วแต่ไม่มีงบประมาณในการบ ารุงรักษา หรือไม่สามารถสร้างผลก าไร

               จากโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้น ท าให้อุตสาหกรรมไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง


                                                     ุ
                       ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการลงทุนในอตสาหกรรมชีววัตถุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และความสามารถ
               ในการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีของประเทศไทย ด าเนินการโดยการประเมินความเป็นไปได้ทางการเงิน

               จากผลิตภัณฑ์ ความเป็นไปได้ของตลาด ความเป็นไปได้ขององค์กรในบริบทของประเทศไทย การวิเคราะห์
               ความเป็นไปได้ทางการเงินพิจารณาจากงบลงทุน และโอกาสในการขายในประเทศ มุมมองในการประเมินคือ

               มุมมองของผู้ประกอบการ ตามวงจรชีวิตยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี และมีการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของ

               งบลงทุนเพื่อวิเคราะห์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เมื่อผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดสิ่งที่ควรค านึงถึงคือปริมาณ

               การใช้ภายในประเทศเป็นส าคัญ เนื่องจากปริมาณการใช้ในประเทศที่มาก จะท าให้เกิดการประหยัดต่อขนาด

               (economies of scale) ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมอยู่รอดและสามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดการขายใน
               ต่างประเทศได้


                       จากการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน พบว่าต้นทุนตามกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การ

               วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ล้วนเป็นต้นทุนคงที่ (Fix cost) โดยมีมูลค่าสูงถึง

               705-890 ล้านบาทต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ 1 ชนิด และใช้ระยะเวลานานถึง 8 - 10 ปี โดยกระบวนการ
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220