Page 219 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 219
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 205
แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อเสนอแนะเพื่อการเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี (complexity) และ ข้อเสนอแนะ
เพื่อขยายตลาด (scale) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เป้าหมายระยะยาว
อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่สร้างรายได้ให้ประเทศ โดยมีความเชื่อมโยง
ของการกำหนดนโยบายตลอดซัพพลายเชน นำไปสู่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านยา การผลิตยา และมีความ
มั่นคงด้านยา (ความมั่นคงด้านยาของประเทศ หมายถึง อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ ภาพรวมต้องเข้มแข็ง
เพื่อให้มีการลงทุนวิจัย พัฒนา ที่หลากหลาย ครอบคลุมความจำเป็น)
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการทันที ได้แก่
o ให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ให้เป็นหน่วยงาน
เชื่อม ประสาน นโยบาย และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศทั้งยาเคมี ชีววัตถุ
และสมุนไพร โดยเป็นหน่วยงานหลัก Program Management Unit (PMU) ที่สนับสนุน
งบประมาณในการพัฒนาอุตสาหกรรมยาเคมี ชีววัตถุ และสมุนไพร ซึ่งเป็นบทบาทที่
คล้ายคลึงกับ KHIDI ในสาธารณรัฐเกาหลี และกำหนด Objectives and key results (OKR)
ของหน่วยงานให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยา เช่น มีเป้าหมายให้ส่งออกเพิ่มขึ้น 1
เท่าตัว ใน 5 ปี กลุ่ม biologic ส่งออกเพิ่มขึ้น 1.4% เคมีส่งออกเพิ่มขึ้น 20% บาท รวม 5
ปี 22,000 ล้านบาท
o TCELS ร่วมมือกับ สวทช และ BOI จัดทำชุดสิทธิประโยชน์ที่มีความจำเพาะ (tailor made)
สำหรับ อุตสาหกรรมยา เช่น ลดภาษีหากมีการลงทุนในการวิจัยพัฒนา 5% ของยอดขาย
และการให้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมสำหรับ การวิจัย พัฒนา ยาที่มีเทคโนโลยีซับซ้อน
หรือ มีการลงทุนวิจัยชีวสมมูลที่มีความซับซ้อน
o TCELS ร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการสนับสนุน
การจัด Pavilion เพื่อแสดงเภสัชภัณฑ์ ในงาน CPhI ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ