Page 217 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 217

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา   203


                       จากผลการจ าลองสถานการณ์ด้วยแบบจ าลองพลวัตรระบบหากประเทศไทยเข้าร่วมความตกลง

                                          ุ
               CPTPP จะก่อให้เกิดผลเสียต่ออตสาหกรรมยาภายในประเทศ เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านยา และการพึ่งพาการน าเข้า
                                                                                     ้
                                                                                 ี่
               ยาจากต่างประเทศมากขึ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามแม้ในสถานการณ์ทไม่เขาร่วมความตกลง CPTPP
               สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยาภายในประเทศก็ไม่ดีนักเมื่อพิจารณาจากค่าใช้จ่ายด้านยา การพึ่งพาการ
               น าเข้า และขนาดของอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ ประเทศจึงควรมีนโยบายเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้

               อุตสาหกรรมยาภายในประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นรากฐานส าคัญของความมั่นคงทางยาของประเทศ ลด

               การพึ่งพาการน าเข้า และเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้ให้กับประเทศ กลายเป็นจุดแข็งส าหรับการต่อรอง

               เจรจาการค้าระหว่างประเทศในอนาคตและสถานการณทางเลือกเชิงนโยบาย
                                                             ์
                       ผลการจ าลองสถานการณ์ของอุตสาหกรรมยาด้วยแบบจ าลองพลวัตรระบบในสถานการณ์ BAU

               แสดงให้เห็นว่าหากปล่อยให้สถานการณ์ของตลาดยา รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด าเนินต่อไปตามที่

               ด ารงอยู่ จะท าให้ระบบสุขภาพของประเทศต้องพึ่งพาการน าเข้าด้านยามากขึ้นทั้งยาชีวภาพ และยาเคมี ส่งผล
               กระทบทางลบต่อการเข้าถึงยา และความมั่นคงทางยาของประเทศอย่างมากในอนาคต

                       ประเทศไทยจึงต้องมีนโยบายพัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศอย่างเป็นระบบ ครบวงจร

               ในฐานะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้วยภาวะสุขภาพที่ดีของคนในประเทศเป็นปัจจัย
               ส าคัญของผลิตภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ระบบสุขภาพที่มีความมั่นคงทางยาสูงจึงเป็นรากฐานส าคัญ

               ส าหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้หากมีการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศอย่างเป็น

               ระบบทั้งการเพิ่มระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
                           101
               (complexity)  และการเพิ่มขนาดมูลค่าของอุตสาหกรรมยา (scale) ให้สูงขึ้น จะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่
               สร้างรายได้ให้กับประเทศโดยตรง ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีซึ่งสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม ขนาดของ

               ประเทศ และสถานการณ์อุตสาหกรรมยาภายในประเทศ ไม่แตกต่างจากประเทศไทยในขณะนี้มากนัก ในขณะ
               ที่เริ่มต้นนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยาอย่างจริงจัง จนมีอุตสาหกรรมยาในประเทศที่แข็งแกร่งได้ในปัจจุบัน







               101  การเพิ่มระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น (complexity)  เช่น การพัฒนา

               ผลิตภัณฑ์ยาใหม่ จากตัวยาสำคัญเดิมโดยใช้ในการรักษาโรคหรืออาการที่ต่างออกไป เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ลดอาการ
               ข้างเคียงจากการใช้ยา ลดปริมาณยาหรือจำนวนเม็ดที่ผู้ป่วยต้องรับประทาน เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ตัวอย่าง
               รูปแบบยาที่มีการผลิตในสหรัฐอเมริกา เช่น New Dosage Form อาจเป็น dosage route (เช่น การเปลี่ยนจากรูปแบบยา

               กินเป็นยาฉีดหรือยาทาผิวหนัง), dosage form (เช่น การเปลี่ยนจากรูปแบบยาเม็ดเป็นยาน้ำหรือยาครีม) และ dose
               amount (เช่น การเพิ่มหรือลดความแรงของยา) New Formulation เช่นการเปลี่ยนแปลงสูตรตำรับเพื่อลดความจำเป็นใน

               การต้องเก็บรักษาในความเย็น New Combination เพื่อเพิ่มความร่วมมือจากการใช้ยาจากการลดจำนวนเม็ดยาที่ผู้ป่วยต้อง
               ได้รับ New Indication ข้อบ่งใช้ใหม่เพิ่มประสิทธิผลของยา (Hult, K.J. (2015). Incremental innovation and

               pharmaceutical productivity.)
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222