Page 216 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 216
Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
202 development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
ที่มีต้นทุนสูงสุดคือ การศึกษาทางคลินิก ซึ่งใช้ต้นทุนสูงถึง 360 - 420 ล้านบาท จากการประมาณการมูลค่า
การขายยาชีววัตถุคล้ายคลึง Pertuzumab และ Pembrolizumab พบว่ายอดขายยาชีววัตถุคล้ายคลึงต่อปี
อยู่ที่ประมาณ 86-1400 ล้านบาท มีระยะเวลาคืนทุนตั้งแต่ 1-14 ปี โดยขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งการตลาด
อุบัติการณ์ ความชุกของโรค และการสนับสนุนจากภาครัฐ
อุตสาหกรรมโมโนโคลนอลแอนติบอดีมีศักยภาพในการเติบโต และสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนการลงทุนและการสนับสนุนการใช้ยาจากภาครัฐด้วย โดยแนวทางการท างาน และ
โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรมีความพร้อม เพื่อสนับสนุนการลงทุน รวมถึงภาครัฐ
ควรสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชีววัตถุโดยพิจารณาถึงความความเป็นไปได้ของการลงทุนและความต้องการ
ภายในประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลมีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โมโนโคลนอลแอนติบอดีหลาย
ั
ชนิดในห้องปฏิบัติการ รวมถึงสนับสนุนการพฒนาการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ และโครงสร้างพื้นฐานใน
กระบวนการผลิต ได้แก่ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ อย่างไรก็ตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา
ต้องการการพัฒนาระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการที่ท าการทดสอบพิษในสัตว์ และการทดสอบ
โครงสร้างยาที่ได้มาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงานตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการขึ้นทะเบียน สถานที่
ผลิตในระดับการศึกษาทางคลินิกที่สามารถขยายการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับอุตสาหกรรม การ
์
เพิ่มศักยภาพของห้องปฏิบัติการในประเทศให้สามารถท าการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑตั้งแต่ต้นน ้าจนถึงปลาย
น ้าทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้สามารถน าผลการศึกษาไปใช้ประกอบการยื่นขออนุมัติทะเบียนได้
การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เป็นปัจจัยส าคัญในการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมการ
ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีในประเทศไทย โดยรัฐบาลควรสนับสนุนนโยบายการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
ในระยะของกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่ต้องใช้งบประมาณและความเสี่ยงมาก เช่น การผลิตเพื่อการทดสอบ
ในการศึกษาทางคลินิกและการผลิตในระดับอุตสาหกรรม พิจารณาจากผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ในการ
ลงทุนและมีความต้องการในประเทศ ในสัดส่วนที่มากพอเพื่อให้สามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและ
ก าหนดแนวทางการด าเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม รวมทั้งการส่งเสริมกิจการที่เข้าลงทุนให้มีการเจริญเติบโต
อย่างยั่งยืน
ผลการประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาภายในประเทศ ทั้งในสถานการณ์ฐาน (based case)
หากประเทศไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP จากข้อบท 2 เรื่อง ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยาภายในประเทศ
โดยตรง คือ Patent linkage และ Government procurement & State-owned Enterprise จะท าให้
ประเทศไทยต้องมีค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นเกือบ 400,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสถานการณ์ไม่เข้าร่วมความ
ตกลง ประเทศจะต้องพงพาการน าเข้ามากขึ้นถึง 89% เทียบกับ 76% ในสถานการณ์ไม่เข้าร่วมความตกลง
ึ่
มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมยาภายในประเทศหายไปถึง 100,000ล้านบาท เมื่อเทียบกับสถานการณ์ไม่เข้า
ร่วมความตกลง