Page 39 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 39

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา   25



                       ประเทศไทยมีการท าวิจัยด้าน genomic หรือ genetic หรือเซลล์และยีนบ าบัดในขั้นตอน clinical trial

               จ านวนประมาณ 2,000 คนในโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งกระจายตามสาขาต่าง ๆ อาทิ โรคมะเร็ง โรคที่เกิดจากพันธุกรรม

               การถอดรหัสจีโนมของคนไทย เป็นต้น มูลค่าของตลาดโลกเซลล์ต้นก าเนิดในปี 2559 พบว่ามีมูลค่าราว 6.87

               พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 15.63 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี

               2568 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมประมาณร้อยละ 9.2 ต่อปี ผู้ประกอบรายใหญ่ต่างเร่งขยายฐานการผลิตและ

               ศึกษาความเป็นไปได้ของตลาดการรักษาโรค เช่น โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 การบาดเจ็บจากไขสันหลัง
               โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ประเด็นท้าทายจะเป็นในเรื่องของการศึกษาวิจัยทางคลินิกตามมาตรฐาน cGMP (Current

               Good Manufacturing Practice) และการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice; GCPs) การ

                               ื่
               ควบคุมอุณหภูมิเพออ านวยความสะดวกต่อการขนส่งภายในศูนย์วิจัย และการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ  ตลาดส
               เต็มเซลล์ภูมิภาคอเมริกาเหนือ แบ่งตามผลิตภัณฑ์ พบว่า สเต็มเซลล์จากผู้ใหญ่ (Adult Stem Cells) ครองส่วนแบ่ง

               ทางการตลาดมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต่ออายุระยะยาว การปนเปื้อนระหว่างการเพาะเลี้ยงต ่า อีกทั้งยัง

               ไม่มีข้อกังวลด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและความเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์  ขณะที่ตลาดสเต็มเซลล์

               ของประเทศอังกฤษ แบ่งตามเทคโนโลยี 4 กลุ่มได้แก่ การได้มาของสเต็มเซลล์ (Cell Acquisition) การผลิตเซลล์
               (Cell Production) การเก็บรักษาด้วยความเย็น (Cryopreservation) และการขยายตัวและการย่อยเซลล์

               (Expansion and Sub-Culture) ซึ่งขั้นตอนพื้นฐานอย่างการได้มาของสเต็มเซลล์นั้นมีแนวโน้มว่าจะครองตลาดใน

               ประเทศอังกฤษ โดยคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 10.9 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็น

               ตลาดที่น่าจับตามองมากที่สุด โดยคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ (ปี ค.ศ. 2560 -

               2568) ทั้งนี้เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการเก็บเกี่ยวสเต็มเซลล์เพื่อใช้ในการบ าบัดรักษา

               สภาพแวดล้อมของกฎหมายข้อบังคับที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ ไปจนถึงการสนับสนุนการท าวิจัยของประเทศ

               สิงคโปร์และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้ภูมิภาคนี้มีทิศทางการเติบโตที่ดีเช่นกัน
                                                                              31

                       การที่จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยาชีววัตถุเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายของ
               ประเทศควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมไปสู่การสร้างเศรษฐกิจความรู้ และวางต าแหน่งประเทศให้ขับเคลื่อน

               เศรษฐกิจโดยนวัตกรรม เปลี่ยนประเทศจากผู้ซื้อให้เป็นผู้ผลิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เพิ่มขีดความสามารถในการ

               แข่งขันและขยายตลาดเพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุทั้งใน และนอกภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นอุตสาหกรรมยาของ

               ไทยควรเร่งพัฒนาคุณภาพและเพิ่มนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยาชื่อสามัญ นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้การ

               สนับสนุนผู้ประกอบการที่สนใจพัฒนายาชีววัตถุซึ่งมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต โดยจากแนวโน้มของตลาดโลกจะ

               พบว่า การมุ่งเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยลดข้อจ ากัดด้านขนาดและเงินทุนของกิจการลงได้ นอกจากนี้




               31  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (Thailand Center of Excellence for Life Science: TCELS). [อินเทอร์เน็ต]; 2563
               [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2560]. เข้าถึงได้จาก. http://www.tcels.or.th/home.aspx
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44