Page 34 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 34

Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
           20
                 development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP


                       นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และไบโอเทค ยังได้มีการลงทุนในโครงสร้าง

               พื้นฐานผลิตยาชีวภาพในระดับโรงงานต้นแบบตามมาตรฐาน cGMP (Current Good Manufacturing Practice)
               ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญในการขยายขนาดจากห้องปฏิบัติการไปผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ ส่วน

               ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตยาชีวภาพถือว่าเริ่มแข็งแกร่งขึ้น เห็นได้จากการก่อตั้งบริษัท Bionet Asia ซึ่ง

                                                 ื่
               เป็นบริษัทเอกชนของไทยที่จัดตั้งขึ้นมาเพอท าการพัฒนาวัคซีน และบริษัท Siam Bioscience ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน
                                                                                       26
               ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัททุนลดาวัลย์จ ากัด เพื่อพัฒนาและผลิตยาชีวภาพ
                       การวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมยา
                                                        27
                       ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้นกว่าในอดีต โดยเฉพาะการพัฒนายา
               สามัญและยาสามัญใหม่รูปแบบทั่วไป ขณะที่ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการออกค าแนะน าและ

               แนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาใหม่ เพื่อพัฒนาสูตรต ารับและการศึกษาชีวสมมูล จึงท าให้มียาสามัญใหม่ได้รับ

               การขึ้นทะเบียนเพิ่มขึ้น อีกทั้งนโยบายเรื่องบัญชีนวัตกรรมไทยเป็น แรงจูงใจส าคัญส าหรับผู้ประกอบการ
                       สถานการณ์การขึ้นทะเบียนยานั้น อย.ประกาศใช้เอกสารขึ้นทะเบียนต ารับยาตามรูปแบบ ASEN

               Technical Common Technical Dossier (ACTD) และก าหนดให้ทะเบียนยามีอายุ 7 ปี อีกทั้ง อย.ก็ได้พยายาม

               พัฒนาให้กระบวนการพิจารณาทะเบียนเร็วขึ้น โดยจัดตั้งหน่วยงานใหม่คือกองส่งเสริมการประกอบการผลิตภัณฑ์
               สุขภาพ จัดอบรมความรู้ให้บุคลากรที่ท างานด้านทะเบียน

                       สถานการณ์ด้านการผลิต ประเด็นส าคัญที่สุดคือการที่ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ได้

               เกณฑ์ Good Manufacturing Practice (GMP) ตามมาตรฐานของ PIC/S โดยส านักงานคณะกรรมการส่งเสรมิการ
               ลงทุน (Board of Investment: BOI) ให้การสนับสนุนโดยยกเว้นภาษีให้แก่โรงงานที่ต้องการพัฒนา GMP

                        ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมการลงทุนทั้ง

               ในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยสิทธิประโยชน์ของการลงทุนในหมวดประเภทกิจการที่
               เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาในประเทศ (รายละเอียดดังแสดงในภาคผนวก ก. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

               ยาในประเทศไทย) ได้แก่

                          •  กิจการผลิตสารออกฤทธิ์ส าคัญในยา (Active Pharmaceutical Ingredients) ต้องเป็นการผลิต
                              สารออกฤทธิ์ หรือวัตถุดิบทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients: APIs) สิทธิ

                              ประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ยกเว้นอากรน าเขาเครื่องจักรและอากรวัตถุดิบผลิต

                              เพอสงออก
                                ื่
                          •  กิจการผลิตยา ประกอบด้วย 1) กิจการผลิตยาตามบัญชียามุ่งเป้า (ต้องเป็นการผลิตยาในกลุ่ม

                              บัญชียามุ่งเป้าที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ยื่นขอรับการส่งเสริม และต้องได้รับ
                              การรับรองมาตรฐาน GMP ตามแนวทาง PIC/S ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบก าหนดเปิดด าเนินการ



               26  โพสต์ ทูเดย์. นวัตกรรมยาชีวภาพ – ยาชีววัตถุ กับ ศักยภาพของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม

               2560]. เข้าถึงได้จาก. https://mktpharma.wordpress.com/tag/ยาชีววัตถุ/.
               27  เอกสารประกอบการประชม PMAC2020.  https://qrgo.page.link/3bhwg
                                    ุ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39