Page 33 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 33
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 19
ผลิตยาสมุนไพร กระแสความนิยมสมุนไพรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงควรพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พร้อมการ
ั
ควบคุมคุณภาพ เพื่อเพิ่มศกยภาพในการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคตต่อไป ตลาดเป้าหมายที่
ควรส่งเสริมคือ ตลาดเอเชีย ได้แก่ ประเทศที่นิยมใช้ยาแผนโบราณและสมุนไพร เช่น ฮ่องกง ศรีลังกา จีน และ
ประเทศตะวันออกกลาง ส าหรับการเข้าสู่ตลาดโลกควรใช้วิธีการผ่านประเทศที่มีศักยภาพทางการตลาดเข้าช่วย เช่น
ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์
เภสัชเคมีภัณฑ์หรือวัตถุดิบ ตลาดกลุ่มนี้ในประเทศยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น เป็นตลาดขนาดเล็ก และมี
ผู้ประกอบการน้อยราย ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการประมาณ 5 แห่งที่สามารถผลิตวัตถุดิบเองได้ โดยส่วนมาก
วัตถุดิบที่ผลิตได้เป็นวัตถุดิบตัวเก่า ไม่ต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เช่น Aluminium hydroxide, Aspirin,
Erythromycin stearate/ethyl succinate, Pyrazinamide เป็นต้น
แม้ว่าองค์การเภสัชกรรมจะ สามารถวิจัยและพัฒนาการผลิตวัตถุดิบจ าเป็นอย่างเช่น Oseltamivir
phosphate (องค์การเภสัชกรรมร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ BIOTEC), Tenofovir disoproxil
fumarate และ Efavirenz ตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการจนถึงระดับกึ่งอุตสาหกรรมได้ส าเร็จ แต่การผลิตวัตถุดิบ
ดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรมยังมีข้อจ ากัด ทั้งในเรื่องเงินลงทุน เทคโนโลยีในระดับอุตสาหกรรม และ ความคุ้มทุน
เนื่องจากขนาดของตลาดในประเทศยังไม่ใหญ่พอเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การสร้างความมั่นคงทางยาให้กับประเทศไทย ความสามารถในการผลิตเภสัชเคมีภัณฑ์ ก็
เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไป ดังนั้นการพัฒนาและเร่งส่งเสริมยังควรอยู่ภายในประเทศเป็นหลัก ภาครัฐต้องสร้างกลไก
ต่าง ๆ โดยควรเน้นความร่วมมือกันในการพัฒนางานวิจัย การร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการสร้างเทคโนโลยีการ
ผลิต วัตถุดิบในระดับอุตสาหกรรม การลดภาษีการน าเข้าวัตถุดิบ การสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ต่างชาติสนใจใน
24
การร่วมทุน และการท า price subsidy เพื่อให้ราคาวัตถุดิบสามารถแข่งขันได้ในระยะแรก เป็นต้น
ยาชีววัตถุ อัตราการเติบโตของตลาดยาชีววัตถุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าเติบโตร้อยละ 9.9 ต่อปี
ั
ศักยภาพของประเทศไทยในการวิจัยและพฒนายาชีวภาพยังถือว่าอยู่ในขั้นเริ่มต้น เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาชีวภาพ เช่น การลงทุนจากนักลงทุนในระยะยาว ส าหรับจุดแข็งของ
การวิจัยในไทยนั้น ประเทศมีนักวิจัยที่ท าการวิจัยต้นน ้าอยู่จ านวนหนึ่ง ด าเนินการได้ตั้งแต่การพัฒนาใน
ห้องปฏิบัติการ จนถึงการผลิตได้ในขนาดเล็ก เช่น โกรทฮอร์โมน เป็นตัวอย่างความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยไบโอ
เทค และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา สภากาชาดไทย โดยการสนับสนุนจากสาธารณรัฐเกาหลีและการถ่ายทอด
เทคโนโลยีจากบริษัท Green Cross Corporation (GCC) สาธารณรัฐเกาหลี ก าลังด าเนินการผลิตผลิตภัณฑ์จาก
พลาสมา 3 ชนิด ประกอบด้วย Albumin ใช้ส าหรับโรคไต มะเร็ง และเบาหวาน; Intravenous Immunoglobulin
25
หรือ IVIG ใช้ในโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเองและภูมิคุ้มกันบกพร่อง; และ Factor VIII ใช้ในโรคฮีโมฟีเลีย
24 อรศิริ ศรีคุณ. อุตสาหกรรมการผลิตวัตถุดิบทางยาของประเทศไทย. 2559. GPO, R&D Newsletter; 23(2): 2-5.
25 สภากาชาดไทย ผนึก 4 หน่วยงานหลักสาธารณสุข ลงนามความร่วมมือสนับสนุน “ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา" Available
at: http://www.redcross.or.th/news/information/41314 Accessed date 08/10/2016