Page 66 - BBLP ejournal2018.docx
P. 66
วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
ประสิทธิภาพการผลิตตัวอ่อนโดยวิธีปฏิสนธินอกร่างกายด้วยน ้าเชื้อแช่แข็งโคบราห์มันแดง
ที่มี motility ต ่ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์
มาลี อภิเมธีธ ารง อนนท์ เทืองสันเทียะ สราวุธ ฉายประสาท ณรงค์ เลี้ยงเจริญ
1/
2/
3/
1/
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตตัวอ่อนจากน ้าเชื้อแช่แข็งโคบราห์มันแดงที่มี
motility ต ่ากว่า 40% โดยใช้วิธีปฏิสนธินอกร่างกายกับโอโอไซต์ที่เก็บจากแม่โคพันธุ์บราห์มันผ่านทางผนังช่องคลอดใช้
น ้าเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคบราห์มันแดง 2 ตัวคือ RAB 280 และ RAB 102 ที่มี motility หลังละลายต ่ากว่า 40% (5-35%)
ผลิตที่ศูนย์ผลิตน ้าเชื้อพ่อโคพันธุ์โครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ น ามาเข้ากระบวนการผลิตตัวอ่อนด้วยวิธีปฏิสนธิ
นอกร่างกาย โดยก่อนผสมกับโอโอไซต์ที่เจริญพร้อมปฏิสนธิตรวจสอบคุณภาพด้านต่างๆของตัวอสุจิก่อนและหลัง swim-
up เลี้ยงตัวอ่อนนาน 7-8 วัน บันทึกการเจริญของตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซีสต์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรม
ส าเร็จรูป SPSS เปรียบเทียบคุณภาพของน ้าเชื้อด้านต่างๆ ก่อนและหลัง swim- up ด้วยวิธี paired T-test แสดงข้อมูลเป็น
% mean±S.E. พบว่าน ้าเชื้อแช่แข็งโคบราห์มันแดง RAB 280 มีค่าเฉลี่ย% motility (26.76 ± 2.18 % vs 47.65 ± 1.97 %)
และตัวอสุจิมีชีวิต (31.45 ± 3.24 % vs 64.34 ± 3.26 %) หลัง swim-up สูงกว่าก่อน swim-up แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ
ทางสถิติ (P < 0.05) ความสมบูรณ์ของผนังเซลล์ตัวอสุจิ (26.87 ± 1.65 % vs 32.41 ± 1.99 %) และมีอะโครโซมปกติ
(27.66 ± 1.37 % vs 41.82 ± 2.47 %) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (P > 0.05) ความสมบูรณ์ของผนังเซลล์ตัว
อสุจิและตัวอสุจิมีอะโครโซมปกติก่อนและหลัง swim-up จากการทดลองปฏิสนธินอกร่างกาย 12 ครั้ง ได้ตัวอ่อนระยะบ
ลาสโตซีสต์ 24 ตัวอ่อน ส าหรับน ้าเชื้อแช่แข็งจากพ่อโคบราห์มันแดง RAB 102 พบว่าค่าเฉลี่ย % motility (20.00 ± 5.77%
vs 36.67 ± 3.33 %) ตัวอสุจิมีชีวิต (21.72 ± 3.11% vs 44.05 ± 5.25 %) ความสมบูรณ์ของผนังเซลล์ตัวอสุจิ (27.11 ±
2.01% vs 34.89 ± 5.79 %) และมีอะโครโซมปกติ (25.83 ± 2.13 % vs 32.22 ± 2.22%) ก่อนและหลัง swim-up แตกต่าง
กันอย่างไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (P > 0.05) จากการทดลองปฏิสนธินอกร่างกาย 3 ครั้ง ไม่มีตัวอ่อนแบ่งตัวและเจริญถึง
ระยะบลาสโตซีสต์เนื่องจากเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคเมื่อเลี้ยงตัวอสุจิร่วมกับโอโอไซต์ในขั้นตอนการปฏิสนธิทั้ง 3 ครั้ง
ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงว่าน ้าเชื้อแช่แข็งโคบราห์มันแดงที่มี motility ต ่ากว่า 40 % ที่ใช้ในการทดลองนี้ มีประสิทธิภาพใน
การผลิตตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ด้วยวิธีปฏิสนธินอกร่างกายได้
ค าส าคัญ : การปฏิสนธินอกร่างกาย โคพ่อพันธุ์ น ้าเชื้อแช่แข็ง ตัวอ่อน
เลขทะเบียนวิจัย : 52 (1)-0208-087
1/ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการย้ายฝากตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
2/ ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
3/ ส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
56