Page 118 - แผนการสอน 63-2
P. 118
92
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ
1. กระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยตั้งประเด็นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายดังนี้
- นักเรียนคิดว่าในรอบ 1 ปี ประเทศไทยได้รับความเสียหายจากผลกระทบของลมฟ้าอากาศ
มีมูลค่าประมาณเท่าใด
2. ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาและภาพน าบทเกี่ยวกับผลกระทบของเฮอริเคนแซนดี้ และพายุไต้ฝุ่นเกย ์
ค าถามน าบท โดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นต่อค าถามดังกล่าวเพื่อสร้างความสนใจและมีส่วนร่วมใน
บทเรียนที่นักเรียนก าลังจะเรียนรู้
3. ให้นักเรียนอ่านจุดประสงค์ของบทเรียนและอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้ทราบขอบเขตเนื้อหา
เป้าหมายการเรียนรู้ และแนวทางการประเมินที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ในบทเรียน
4. เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้เรื่องที่ 1 พายุ ใช้ภาพหรือวีดิทัศน์ที่แสดงปรากฏการณ์เกี่ยวกับพายุฝนฟ้า
คะนอง และพายุหมุนเขตร้อน ให้นักเรียนสังเกต จากนั้นครูถามค าถามสร้างความสนใจ เช่น พายุทั้งสองมี
ความแตกต่างกันอย่างไร พายุใด สร้างอันตรายต่อมนุษย์มากกว่ากัน
5. ให้นักเรียนท ากิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนแล้วน าเสนอผลการท ากิจกรรม หากพบว่านักเรียน
ยังท ากิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนไม่ถูกต้องครูควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียนเพื่อให้มี
ความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะเรียนเรื่องพายุต่อไป
6. ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับพายุโดยให้ท ากิจกรรม รู้อะไรบ้างก่อนเรียน นักเรียน
สามารถเขียนได้ตามความเข้าใจของนักเรียน
7. น าเข้าสู่กิจกรรมที่ 6.9 พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยตั้งประเด็น
สร้างความสนใจว่าพายุในประเทศไทยที่พบบ่อยคือพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งนักเรียนจะได้
เรียนรู้เกี่ยวกับพายุทั้งสองในกิจกรรมต่อไป
ขั้นที่ 2 ส ารวจและค้นหา
1. ให้นักเรียนอ่านวิธีด าเนินกิจกรรมในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้
- กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (กระบวนการเกิดและผลกระทบของพายุฝนฟ้าคะนอง และ
พายุหมุนเขตร้อน)
- กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
- การท ากิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (อ่านข้อความการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
วิเคราะห์และวาดภาพอธิบาย กระบวนการเกิด สังเกตภาพพายุหมุนเขตร้อน วิเคราะห์และเขียนอธิบาย
กระบวนการเกิด รวบรวมข้อมูล กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน จากนั้นน าเสนอ)
ครูอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังตอบไม่ครบถ้วน
2. ให้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อนจาก
ข้อมูลที่ก าหนดให้ในหนังสือเรียน
3. ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลกระบวนการเกิดพายุทั้งสองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือจากหนังสือ
เรียน
4. อธิบายภาพประกอบในกิจกรรม 6.9 เช่น สีขาวคือกลุ่มของเมฆ สีของลูกศรแสดงอัตราเร็วของลม
ตามแถบสีด้านข้างเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล