Page 119 - แผนการสอน 63-2
P. 119
93
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป
1. ให้นักเรียนตอบค าถามท้ายกิจกรรม จากนั้นน าเสนอ และอภิปรายค าตอบร่วมกัน
2. ให้นักเรียนอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือเรียน และตอบค าถามระหว่างเรียน จากนั้นครูและนักเรียน
ร่วมกันอภิปรายและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากอากาศมี
อุณหภูมิสูงขึ้นท าให้น้ าระเหยเพิ่มขึ้นและลอยสูงขึ้น ไอน้ าในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ าเกิดเป็นเมฆ
้
ขนาดใหญ่จากนั้นจะเกิดฝนตกหนัก ฟาแลบ ฟ้าผ่า หรืออาจเกิดลูกเห็บตกกระบวนการเกิดพายุหมุนเขตร้อน
เกิดจากอุณหภูมิเหนือน้ าทะเลเพิ่มสูงขึ้นท าให้เกิดไอน้ าในปริมาณมากและเคลื่อนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วท าให้
อากาศบริเวณรอบ ๆ เคลื่อนเข้ามาแทนที่จึงเห็นเป็นเกลียวขนาดใหญ่ พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน
มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งด้านบวกและลบ เช่น เกิดฝนตกช่วยในการท าการเกษตร หรือ เกิดน้ า
ท่วมสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นจ านวนมาก
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้
1. กระตุ้นให้นักเรียนสืบค้น ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มากพอ ส าหรับการวิเคราะห์
กระบวนการเกิดพายุ
2. เชื่อมโยงไปสู่การเรียนเรื่องต่อไปว่าปัจจุบันพายุที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีโอกาสเกิด
บ่อยขึ้นซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในเรื่องต่อไป
ขั้นที่ 5 การวัดและประเมินผล
แบบทดสอบ/นักเรียนสามารถ
1. เปรียบเทียบกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อน
2. เปรียบเทียบผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อน
3. น าเสนอแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและปลอดภัยภายใต้สถานการณ์การเกิดพายุฝนฟ้า
คะนองและพายุหมุนเขตร้อน
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 สสวท.
2. สื่อPower Point เรื่อง ลมบ้าหมู
3. แหล่งค้นคว้าข้อมูล
- กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th