Page 21 - การบูรณาการคุณค่าพระวรสาร
P. 21
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัสวิชา ว 22101 ล าดับที่ 16
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องสารละลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนวีรศิลป์ เวลา 4 คาบ
ชื่อผู้จัดท านางทิวารัตน์ ขันวิชัย สัปดาห์ที่ 16 วันที่ 28–31 สิงหาคม – 1 กันยายน พ.ศ. 2560
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับ
โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคหลักและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร
การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม 2/5 ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ ปริมาตรต่อปริมาตร
มวลต่อมวล และมวลต่อปริมาตร
3. จุดประสงค์การเรียนสู่ตัวชี้วัด
1. นักเรียนค านวณความเข้มข้นของสารละลายได้ (P)
้
2. นักเรียนบอกความหมายของความเข้มข้นของสารละลายได (K)
3. นักเรียนแสดงความเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ มีเหตุผล มีความอยากรู้อยากเห็น ใจกว้าง มีความซื่อสัตย์และมี
ความมุ่งมั่นเพียรพยายาม (A)
4. สาระส าคัญ
ความเข้มข้นของสารละลาย หมายถึง ปริมาณของตัวละลายในสารละลาย นิยมบอก
3
ความเข้มข้นของสารละลายเป็นปริมาตรหรือมวลของตัวละลายในสารละลาย 100 cm
สารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวละลายมาก
สารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวละลายน้อย
สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวละลายอยู่เต็ม ไม่สามารถละลายได้อีกที่อุณหภูมิห้อง
ขณะนั้น
การบอกความเข้มข้นของสารละลายมี 3 วิธี ดังนี้
1. บอกเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร
2. บอกเป็นร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร
3. บอกเป็นร้อยละโดยมวลต่อมวล