Page 118 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 118

106






                              จากข้อมูลข้างต้น กลุ่มผู้ทำการศึกษาพบว่า หากกรุงเทพมหานครใช้ต้นแบบรถโดยสาร
                       Shuttle Bus ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น รถโดยสารประจำทาง ระบบรอง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางใน
                       เส้นทางหลักที่ ดำเนินการโดยรถโดยสารประจำทางขององค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

                       ประกอบกับการจัดหารถ ประเภทอื่นๆ เพื่อให้บริการตามความต้องการของประชาชน (on
                       demand) และให้ประชาชนสามารถ เลือกใช้บริการได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน ก็จะสามารถเป็น

                       ทางเลือกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่ง มวลชนทางราง และอาจเป็นแรงจูงใจให้ประชาชน
                       ในพื้นที่ศูนย์ชุมชนเขตมีนบุรีเลือกใช้ขนส่งมวลชนมากกว่าการ ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการ

                       เดินทางเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครควร มีการวางแผนการ
                       เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งระบบหลักและระบบรองไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการเปิด

                       ให้บริการระบบขนส่งมวลชนทางราง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อวางแผนการ
                       เดินทางให้ สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครจัดเตรียมไว้

                       (๔)  วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร

                              จุดแข็ง (Strengths)
                                     ๑. สำนักการจราจรและขนส่งมีแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สอดคล้องกับ
                       แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 25๖5) และแผนปฏิบัติราชการ

                       กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563
                                     ๒. ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่งมีนโยบายที่ชัดเจน ให้ความเอาใจใส่และมี

                       การติดตาม ผลการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และให้ข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
                       อย่างชัดเจน

                                     ๓. บุคลากรมีความรู้  ความสามารถหลายด้าน  ความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น  มี
                       ความชำนาญและ ประสบการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

                                     ๔. มีอุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการและดำเนินการ
                              จุดอ่อน (Weaknesses)
                                     1. มีงานนโยบายมากเกินกว่าบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การดำเนินงานตาม

                       ภารกิจหน้าที่ประจำ     ไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                                     ๒. งบประมาณในการแก้ไขปัญหาไม่เพียงพอ ไม่ได้รับงบประมาณตามแผนยุทธ์

                       ศาสตร์ที่กำหนด
                                     ๓. การปฏิบัติงานของส่วนราชการไม่ตรงตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนด

                                     ๔. สถานที่ของหน่วยงานคับแคบไม่เพียงพอ ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน
                                     ๕. อัตรากำลังบุคลากรไม่สอดคล้องเมื่อเทียบกับปริมาณงานและลักษณะงานที่ต้อง

                       ดำเนินการ  จัดการบริการเชิงรุกและนโยบายเร่งด่วน
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123