Page 11 - 2557 เล่ม 1
P. 11

๑๑



               กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน ๑๑ – ๗๐๔๗
               กรุงเทพมหานคร โดยรับผิดชอบจะซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทน

               เป็นเงินนั้นจะไปดําเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัย ซึ่งในส่วนค่าสินไหม

               ทดแทนนี้ศาลล่างทั้งสองกําหนดให้จําเลยที่ ๑ และที่ ๓ ร่วมกันชําระเงินแก่โจทก์
               ๑๕๗,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่

               วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป จนกว่าจะชําระเงินเสร็จ

                      มีปงญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยที่ ๒ ประการแรกว่า จําเลยที่ ๒ ต้อง
               ร่วมรับผิดในการกระทําละเมิดของจําเลยที่ ๑ หรือไม่ โจทก์มีนายเศวต พนักงาน

               ของโจทก์เบิกความว่า พยานไปพบพนักงานสอบสวนคดีนี้ พบตัวแทนจําเลยที่ ๓

               ทําบันทึกความเสียหายของรถยนต์โดยสารไว้ตามเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.๕
               ก่อนพบพนักงานสอบสวน จําเลยที่ ๑ แจ้งให้พยานทราบว่า จําเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้าง

               ของจําเลยที่ ๒ นอกจากนี้ตามสําเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ระบุว่า
               จําเลยที่ ๒ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๕๒๗๓

               ชุมพร และมีชื่อเป็นผู้ใช้รถยนต์บรรทุกประกอบการขนส่งอยู่ในขณะเกิดเหตุ โดย

               ไม่ปรากฏว่า จําเลยที่ ๑ ได้รับอนุญาตให้นํารถยนต์บรรทุกประกอบการขนส่ง
               แต่อย่างใด ส่วนที่จําเลยที่ ๒ นําสืบว่า จําเลยที่ ๑ เป็นผู้เช่ารถยนต์บรรทุกคัน

               เกิดเหตุจากจําเลยที่ ๒ นั้น ก็ไม่มีหลักฐานการเช่าและหลักฐานการชําระค่าเช่า

               แต่ประการใด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ําหนักมากกว่าพยานหลักฐานของ
               จําเลยที่ ๒ ข้อเท็จจริงรับฟงงได้ว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ ๑ ขับรถยนต์บรรทุก

               หมายเลขทะเบียน ๘๐ –  ๕๒๗๓ ชุมพร รับจ้างบรรทุกสินค้าอันเป็นการ

               ประกอบการขนส่งในนามของจําเลยที่ ๒ จึงต้องถือว่า จําเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนของ
               จําเลยที่ ๒ ในการขับรถยนต์บรรทุก ดังนั้น จําเลยที่ ๒ ในฐานะตัวการจึงต้อง

               รับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนของตนได้กระทําไป ตามประมวลกฎหมายแพ่ง

               และพาณิชย์ มาตรา ๔๒๗ และ ๘๒๐ ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ วินิจฉัยให้เหตุผลมานั้น
               ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจําเลยที่ ๒ ฟงงไม่ขึ้น

                      มีปงญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยที่ ๒ ประการที่สองว่า หนี้ตาม

               มูลละเมิดระงับไปเพราะโจทก์กับจําเลยที่ ๑ ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16