Page 12 - 2557 เล่ม 1
P. 12
๑๒
กันแล้วตามรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.๔ โจทก์คงมี
สิทธิเรียกร้องหนี้ตามสัญญากับจําเลยที่ ๑ เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องจาก
จําเลยที่ ๒ นั้น ตามรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.๔ ที่
พนักงานสอบสวนจัดทําขึ้นในการเปรียบเทียบปรับจําเลยที่ ๑ ในความผิดฐาน
ขับรถโดยประมาท อันทําให้คดีส่วนอาญาเลิกกัน แม้จะมีข้อความบันทึกไว้ตอนต้นว่า
คู่กรณีทั้งสามฝ่ายตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงฝ่ายรถยนต์บรรทุก
หมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๕๒๗๓ ชุมพร ซึ่งจําเลยที่ ๑ เป็นคนขับขณะเกิดเหตุ
ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยจะซ่อมรถยนต์ หมายเลขทะเบียน ๖ ฎ – ๐๙๖๗
กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน ๑ ๑ – ๗๐๔๗
กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจะไป
ดําเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัยก็ตาม แต่ผู้ลงชื่อท้ายบันทึกฝ่ายรถบรรทุก
หมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๕๒๗๓ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ จําเลยที่ ๑ ผู้ชดใช้และ
ฝ่ายรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน ๑๑ – ๗๐๔๗ กรุงเทพมหานคร คือ
นายมนัส พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ผู้รับชดใช้ โดยไม่มีข้อความตอนใด
ระบุว่านายมนัสทําบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนของโจทก์ ทั้งตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๑ บังคับว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ
ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา ๗๙๘ วรรคสอง บัญญัติว่า กิจการอันใด
ท่านบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมี
หลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนี้ข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายตามรายงานประจําวัน
เกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.๔ จึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีฟงงไม่ได้ว่าโจทก์
กับจําเลยที่ ๑ ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิด
ระงับไป ฎีกาข้อนี้ของจําเลยที่ ๒ ฟงงไม่ขึ้น
มีปงญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยที่ ๒ ประการสุดท้ายว่า ค่าเสียหายที่
ศาลล่างทั้งสองกําหนดให้แก่โจทก์สูงเกินความเป็นจริง ศาลล่างทั้งสองพิจารณา
และวินิจฉัยให้เหตุผลในการกําหนดค่าเสียหายที่จําเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อ
โจทก์มา เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและชอบด้วยเหตุผลแล้ว จึงไม่จําต้อง
วินิจฉัยซ้ําอีก ฎีกาของจําเลยที่ ๒ ข้อนี้ฟงงไม่ขึ้นเช่นกัน