Page 10 - 2557 เล่ม 1
P. 10
๑๐
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จําเลยที่ ๒ ร่วมกับจําเลยที่ ๑
และที่ ๓ ชําระหนี้ตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นแก่โจทก์ กับให้จําเลยที่ ๒ ใช้ค่าฤชา
ธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกําหนดค่าทนายความให้ ๑,๕๐๐ บาท
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
จําเลยที่ ๒ ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า
มีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟงงเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็น
นิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยสาร หมายเลข
ทะเบียน ๑๑ – ๗๐๔๗ กรุงเทพมหานคร จําเลยที่ ๒ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์
บรรทุก หมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๕๒๗๓ ชุมพร ขณะที่นายมนัส พนักงานของโจทก์
ขับรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน ๑ ๑ – ๗๐๔๗ กรุงเทพมหานคร
พาผู้โดยสารจากกรุงเทพมหานครไปส่งที่จังหวัดกระบี่ เมื่อถึงที่เกิดเหตุมี
จําเลยที่ ๑ ขับรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๕๒๗๓ ชุมพร ของจําเลย
ที่ ๒ ด้วยความประมาทเฉี่ยวชนด้านท้ายรถยนต์ หมายเลขทะเบียน ๖ ฎ – ๐๙๖๗
กรุงเทพมหานคร ซึ่งแล่นตามรถยนต์โดยสารของโจทก์ จนเป็นเหตุให้รถยนต์
หมายเลขทะเบียน ๖ ฎ – ๐๙๖๗ กรุงเทพมหานคร ไปชนท้ายรถยนต์โดยสาร
ของโจทก์แล้วเสียหลักออกไปและรถยนต์บรรทุกที่จําเลยที่ ๑ ขับมาชนรถยนต์
โดยสารของโจทก์ซ้ําอีกจนได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุโจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่น
ยกลากรถยนต์โดยสารของโจทก์จากที่เกิดเหตุเป็นเงิน ๑๔,๕๐๐ บาท ต่อมา
นายเศวต พนักงานของโจทก์ตําแหน่งนิติกร จําเลยที่ ๑ และเจ้าของรถยนต์หมายเลข
ทะเบียน ๖ ฎ – ๐๙๖๗ กรุงเทพมหานคร ไปพบพนักงานสอบสวนมีการทําบันทึก
ยินยอมให้มีการเปรียบเทียบปรับจําเลยที่ ๑ ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทตาม
รายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.๔ ในบันทึกมีข้อความ
ตอนต้นว่า คู่กรณีทั้งสามฝ่ายได้มาตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงปรากฏว่า
ทางฝ่ายรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๕๒๗๓ ชุมพร ยินยอมรับผิด
ชดใช้ค่าเสียหายให้กับฝ่ายรถยนต์ หมายเลขทะเบียน ๖ ฎ – ๐๙๖๗