Page 33 - 2557 เล่ม 1
P. 33
๓๓
โจทก์ร่วม แล้วพากันไปชักชวนจําเลยที่ ๑ นํารถจักรยานยนต์พ่วงข้างขับไปจอดรอ
ที่แนวต้นกระถินข้างบ่อเลี้ยงกุ้งของโจทก์ร่วม เมื่อจําเลยที่ ๒ นายอ๊อฟและ
นายหนึ่งพากันเดินไปลักอุปกรณ์ของโจทก์ร่วมนํากลับไปที่รถจักรยานยนต์พ่วงซึ่ง
จําเลยที่ ๑ จอดรออยู่เพื่อคอยดูต้นทาง จําเลยที่ ๑ นําทรัพย์กลับไปที่บ้าน แยก
ชิ้นส่วนนําไปขายได้เงิน ๔,๐๐๐ บาท และนําเงินส่วนแบ่ง ๒,๔๐๐ บาท ไปมอบให้
จําเลยที่ ๒ ในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๑๓ นาฬิกา เห็นว่า แม้
คําเบิกความของดาบตํารวจมงคลและคําให้การในชั้นสอบสวนของจําเลยทั้งสอง
เป็นพยานบอกเล่า แต่การที่จําเลยทั้งสองต่างให้การถึงพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุเป็น
ลําดับว่าร่วมกันกระทําความผิด ไม่มีเหตุให้ระแวงว่าเป็นการปงดความรับผิดให้แก่
อีกฝ่ายหนึ่ง จึงถือได้ว่าตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของ
พยานบอกเล่าเช่นนี้น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริง จึงรับฟงงได้ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๑) เมื่อพิจารณาประกอบ
บันทึกการนําชี้ที่เกิดเหตุประกอบคํารับสารภาพและภาพถ่ายการนําชี้ที่เกิดเหตุ
ซึ่งปรากฏภาพถ่ายขณะที่จําเลยที่ ๒ ชี้จุดที่จําเลยที่ ๑ นํารถจักรยานยนต์พ่วงข้าง
ไปจอดรอเหตุการณ์และดูต้นทาง จุดที่จําเลยที่ ๒ กับพวกเข้าไปลักทรัพย์ของ
โจทก์ร่วมและจุดที่จําเลยที่ ๒ กับพวกนําทรัพย์ที่ลักได้ไปใส่รถจักรยานยนต์พ่วงที่
จําเลยที่ ๑ จอดรออยู่ตรงตามลําดับเหตุการณ์ดังที่จําเลยทั้งสองให้การในชั้น
สอบสวน พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อได้ว่า จําเลยที่ ๒ ร่วมกันลักทรัพย์
กับจําเลยที่ ๑ จริง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องโจทก์สําหรับจําเลยที่ ๒
นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟงงขึ้น
แต่ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ ๒ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๓๓๕ (๑๒) นั้น เห็นว่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ คําว่า
“กสิกรรม” หมายความถึง การทําไร่ไถนา การเพาะปลูก โจทก์ร่วมมีอาชีพเลี้ยง
กุ้งกุลาดํา จึงมิใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม การกระทําของจําเลยที่ ๒ จึงไม่เป็น
ความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เนื่องจากปงญหาดังกล่าวเป็นปงญหาข้อกฎหมายที่
เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้น
วินิจฉัยปรับบทและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยให้มีผลไปถึงจําเลยที่ ๑ ซึ่งไม่ได้อุทธรณ์