Page 76 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 76

69






                                คดีเรื่องหนึ่ง บริษัท น จำกัด นายจ้างประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต

                  และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กและแผ่นเหล็กชนิดต่างๆ นายจ้างประสบปัญหาขาด

                  สภาพคล่องจนศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ นายจ้างออกประกาศหยุด

                                                                                                     ้
                  กิจการชั่วคราว โดยจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 50 ของค่าจ้าง (กฎหมายขณะนัน)

                  ตลอดเวลาที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงาน โดยมีเงื่อนไขว่า หากลูกจ้างคนใดไปทำงานกับ

                  นิติบุคคลอื่นให้สถานภาพการเป็นลูกจ้างสิ้นสุดลงทันที ในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว

                  ลูกจ้างไปทำงานให้แก่นิติบุคคลอื่น นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย


                  ปัญหาว่านายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง หรือไม่ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน

                  วินิจฉัยว่า ประกาศของนายจ้างเป็นเพียงประกาศแจ้งให้ทราบถึงความจำเป็นที่ต้อง

                  หยุดกิจการชั่วคราวและจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวัน

                  ทำงานตลอดเวลาที่หยุดกิจการชั่วคราว แต่ไม่ใช่หนังสือเลิกจ้างลูกจ้าง แม้ประกาศ

                  จะระบุให้ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานทันทีที่ไปประจำทำงานกับนิติบุคคล


                  อื่น ก็เป็นเพียงเงื่อนไขที่นายจ้างจะใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น การที่ลูกจ้างไป

                  ทำงานกับนิติบุคคลอื่น จึงมิใช่เป็นการตกลงเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างอันจะทำให้

                  สัญญาจ้างสิ้นสุดลง แม้ลูกจ้างยังเป็นลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว


                  แต่นายจ้างมิได้มอบงานให้ทำ ส่วนเงินที่นายจ้างจ่ายมิใช่ค่าจ้างแต่เป็นที่ต้องจ่าย

                  ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามลูกจางไปทำงานให้แก่
                                                                                     ้
                  บุคคลอื่นในระหว่างนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว การที่ลูกจ้างไปทำงานให้แก่บุคคล

                  อื่นจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่ หรือทำผิดสัญญาจ้างและไม่เป็นการเอาเปรียบ

                  นายจ้างที่รับเงินสองทางเพราะเงินที่นายจ้างจ่ายให้ไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อนายจ้าง


                  เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้าง

                  (คำพิพากษาฎีกาที่ 7675/2548)
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81