Page 75 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 75
68
กรณีลูกจ้างได้รับเงินระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75
ในอัตราต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะถือว่านายจ้างจ่ายค่าจ้างฝ่าฝืนกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานหรือไม่ เช่น ลูกจ้างทำงานที่กรุงเทพมหานคร ได้ค่าจ้างรายวัน
วันละ 400 บาท นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวมิใช่เหตุสุดวิสัย จ่ายเงินระหว่างหยุด
กิจการชั่วคราวในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้าง 400 บาท เป็นเงินวันละ 300 บาท
ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครวันละ 331 บาท ในกรณี
เห็นว่า เงินที่จ่ายตามมาตรา 75 เป็นเงินที่กฎหมายให้นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยเหลือ
การดำรงชีพของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการ
ชั่วคราว เงินดังกล่าวไม่ใช่ “ค่าจ้าง” เพราะค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ
มาตรา 5 ต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวัน
ทำงาน ประกอบกับค่าจ้างขั้นต่ำมีวัตถุประสงค์คุ้มครองรายได้ของลูกจ้างที่ทำงาน
ในแต่ละวัน ต้องได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง
ใช้สำหรับกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานให้แก่นายจ้างเท่านั้น เมื่อในระหว่างหยุดกิจการ
ชั่วคราว ลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่นำเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมาปรับใช้
แม้จำนวนเงินตามมาตรา 75 ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างจะต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้น
ต่ำ นายจ้างสามารถทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องห้ามจ่ายค่าจ้างต่ำกว่า
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่อย่างใด
ในระหว่างนายจ้างใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราว ลูกจ้างสามารถไป
ทำงานกับบุคคลอื่นได้หรือไม่ เนื่องจากลูกจ้างได้รับเงินตามมาตรา 75 จากนายจ้าง
แล้ว ในข้อนี้เห็นว่าลูกจ้างอาจไปทำงานกับบุคคลอื่นเพื่อหารายได้เพิ่มได้ ยกเว้น
การทำงานนั้นจะเป็นการทับซ้อนในผลประโยชน์ของการเป็นนายจ้างลูกจ้าง
(conflict of interest) เช่น ลูกจ้างจะไปทำงานกับบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจเป็น
อย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับนายจ้างไม่ได้