Page 70 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 70
63
รับผิดจ่ายค่าตอบแทนในระหว่างปิดกิจการชั่วคราวเพราะเหตุสุดวิสัย ถือว่าตกเป็น
พับแก่คู่กรณี คือ นายจ้างและลูกจ้างต่างได้รับบาปเคราะห์จากเหตุสุดวิสัยนี้
กรณีหยุดกิจการชั่วคราวมิใช่เหตุสุดวิสัย เช่น นายจ้างประสบปัญหา
การเงินเพราะบริหารกิจการผิดพลาด มีผลประกอบกิจการขาดทุนมาก จนสถาบัน
การเงินให้ปล่อยสินเชื่อทำให้ไม่มีเงินมาซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิต
จึงไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ หรือนายจ้างประมาทเลินเล่อไม่จัดการป้องกันอัคคีภัยให้ดี
ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ สถานประกอบการ ต้องปิดซ่อมเป็นเวลา 3
เดือน ฯลฯ กรณีเหล่านี้ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวนี้
นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างก่อนหยุดกิจการตาม
มาตรา 75 ให้แก่ลูกจ้าง
ปัญหาว่านายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวอันเป็นผลมาจากการแพร่
ระบาดของ COVID-19 จะถือว่าเป็นการหยุดกิจการชั่วคราวเพราะเหตุสุดวิสัยหรือ
มิใช่เหตุสุดวิสัย ในข้อนี้ เห็นว่าต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป ในกรณีที่
รัฐโดยศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ
ศ.บ.ค. หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งห้ามธุรกิจบางอย่างเปิดดำเนินการชั่วคราว
เช่น สายการบิน โรงแรม การขนส่งสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า
การประชุมสัมมนาจัดเลี้ยง ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ผับ
บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบการนวดแผนไทย สปา สถานเสริมความงาม
สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย ฯลฯ ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและได้รับโทษอาญา
ตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายจ้าง
จึงจำเป็นต้องหยุดการประกอบกิจการชั่วคราวตามคำสั่งของรัฐ กรณีนี้นับได้ว่าเป็น
การหยุดกิจการชั่วคราวเพราะเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย หรือนายจ้าง
ไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ