Page 69 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 69
62
นายจ้างจึงสามารถกำหนดวิธีการหยุดกิจการให้เหมาะสมแก่ความจำเป็นของ
กิจการนายจ้างได้ ดังนั้น การที่นายจ้างให้ลูกจ้างแต่ละกลุ่มสลับกันหยุดงานกลุ่มละ
6 วัน เป็นวิธีการเฉลี่ยการใช้แรงงานให้มีจำนวนน้อยลง จึงเป็นการหยุดกิจการ
บางส่วนวิธีหนึ่ง เมื่อเป็นการลดกำลังการผลิตโดยมีระยะเวลาแน่นอนติดต่อกัน
อย่างพอสมควรและลูกจ้างแต่ละกลุ่มสลับกันหยุดงานเท่า ๆ กัน โดยไม่ปรากฏว่า
นายจ้างเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งลูกจ้างคนหนึ่งคนใดหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
โดยเฉพาะ ย่อมเป็นการหยุดกิจการบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 75 วรรคหนึ่งแล้ว
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8674/2548)
ประการที่สอง ต้องเกิดจากเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย
คำว่า “เหตุสุดวิสัย” (Force majeure) ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 8 หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี
เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น
จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะ
เช่นนั้น
การหยุดกิจการชั่วคราวเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย เช่น เกิดเหตุ
แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรง ซึ่งนายจ้างไม่สามารถเตรียมการป้องกันล่วงหน้าได้
ทำให้สถานประกอบกิจการของนายจ้างได้รับความเสียหายและต้องปิดซ่อม ฯลฯ
ในกรณีหยุดกิจการชั่วคราวมีสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจโทษนายจ้างได้ ต้อง
ถือว่าการที่นายจ้างไม่อาจมอบงานให้ลูกจ้างทำเป็นกรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
เพราะพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเกิดขึ้นภายหลังก่อหนี้และซึ่งนายจ้างไม่ต้อง
รับผิด นายจ้างย่อมหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อไม่มีการทำงาน โดยโทษนายจ้างไม่ได้ นายจ้างจึงไม่ต้อง