Page 73 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 73
66
บริษัท น. จำกัด อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกา โดยมี
ปัญหาต้องพิจารณาว่าเป็นการหยุดกิจการชั่วคราวเพราะมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม
มาตรา 75 หรือไม่ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า แม้ภาวะอุทกภัยน้ำท่วม
สถานประกอบกิจการของโจทก์ทำให้เครื่องจักรได้รับความเสียหายทั้งหมด
และโจทก์ต้องหยุดการผลิต จะเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ก็ตาม แต่เมื่อ
ภาวะอุทกภัยน้ำท่วมได้ผ่านพ้นไปแล้วจนน้ำลดเป็นปกติ ย่อมถือได้ว่าเหตุสุดวิสัยได้
สิ้นสุดลงแล้ว หลังจากนั้นโจทก์เข้าทำประโยชน์ในสถานประกอบกิจการ โดยเริ่ม
ทำความสะอาด ตรวจเช็คชิ้นงานและสำรวจความเสียหายของเครื่องจักร
ว่าสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่ ต้องซื้อใหม่บางส่วนหรือทั้งหมด ดังนั้น แม้โจทก์
ยังไม่สามารถเปิดสายการผลิตได้ ก็คงเป็นกรณีที่โจทก์มีความจำเป็นต้องหยุด
กิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 75 การที่โจทก์ไม่สามารถ
ประกอบกิจการภายหลังช่วงระยะเวลาดังกล่าว จึงมิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่โจทก์ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติภายหลังจากน้ำลดเป็นปกติแล้ว
มิใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง อุทธรณ์โจทก์ฟังไม่ขึ้น
ประการที่สาม นายจ้างต้องแจ้งการหยุดกิจการชั่วคราวเป็น
หนังสือให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ
ก่อนเริ่มหยุดกิจการชั่วคราว
ตามมาตรา 75 วรรคสอง กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 ไม่ได้
กำหนดระยะเวลาการแจ้งล่วงหน้าก่อนหยุดกิจการชั่วคราวไว้ชัดเจน กฎหมาย
คุ้มครองแรงงานในปี 2551 จึงแก้ไขให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้นายจ้างทำ
หนังสือแจ้งล่วงหน้าให้ลูกจ้างและพนักงาน ตรวจแรงงานในเขตพื้นที่ทราบล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการอีกด้วย มีปัญหาข้อกฎหมาย คือ หากนายจ้างไม่ได้แจ้ง
การหยุดกิจการชั่วคราวให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดผลจะเป็นเช่นใด
มีนักกฎหมายจำนวนหนึ่งมองว่านายจ้างมีหน้าที่ตามมาตรา 75 วรรคสอง ต้องแจ้ง