Page 74 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 74
67
การหยุดกิจการชั่วคราวเป็นหนังสือให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบ
ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการก่อนเริ่มหยุดกิจการชั่วคราว เมื่อไม่แจ้งให้ถูกต้อง
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวน 100 % ของค่าจ้างจะจ่ายเพียงร้อยละ 75 ของ
ค่าจ้างปกติก่อนหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 วรรคหนึ่งไม่ได้ เพราะนายจ้าง
ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด การแปลความเช่นนี้เป็นส่งเสริม
ให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด ส่วนนักกฎหมายอีกฝ่าย
มองว่า การแจ้งการใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 วรรคสองเป็นเพียงขั้นตอน
การฝ่าฝืนเป็นความผิดมีโทษอาญาตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 149
ด้วยการปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทอยู่แล้ว แม้นายจ้างไม่ได้แจ้งการหยุดกิจการ
ชั่วคราวตามมาตรา 75 วรรคสอง หากเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่งก็
จ่ายเงินเพียงร้อยละ 75 ของค่าจ้างปกติก่อนหยุดกิจการชั่วคราวเพียงร้อยละ 75
ของค่าจ้างปกติก่อนหยุดกิจการชั่วคราวได้ ซึ่งในข้อนี้คงต้องรอแนวคำพิพากษาฎีกา
ต่อไป
ประการที่สุดท้าย นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
ของค่าจ้างปกติให้แก่ลูกจ้าง ณ สถานที่ทำงาน อย่างน้อยเดือนละครั้ง
จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้นายจ้างจ่ายเงินในอัตรา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
ของค่าจ้างปกติ เงินที่นำมาใช้คำนวณ จึงใช้ฐาน “ค่าจ้าง” ไม่ใช่ “รายได้” ค่าตอบแทน
การทำงานรายการใด ที่ไม่เป็นค่าจ้างจะไม่นำมารวมคำนวณ เช่น ลูกจ้างทำงานได้
เงินเดือนเดือนละ 21,000 บาท ได้ค่าตำแหน่งอีกเดือนละ 4,000 บาท เงินช่วยค่าเดินทาง
เดือนละ 600 บาท เงินช่วยค่าน้ำและค่าไฟฟ้าเดือนละ 1,000 บาท หากนายจ้างสั่ง
หยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 นายจ้างต้องจ่ายเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของ
ค่าจ้างปกติ ซึ่งได้แก่ ร้อยละ 75 ของเงินเดือนและค่าตำแหน่ง รวม 25,000 บาท
ส่วนเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง เงินช่วยค่าน้ำและค่าไฟฟ้าเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง
ไม่นำมารวมคำนวณด้วย