Page 64 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 64
57
ตามที่คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน
ประกอบกับบริษัท ช จำกัด มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งขาด
วัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของ
บริษัท ช จำกัด ดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของบริษัท ช จำกัด
เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาด
ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน ฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง
ในกรณียังไม่มีความจำเป็นที่สำคัญตามาตรา 75 แต่นายจ้างสั่งให้
หยุดกิจการชั่วคราว นายจ้างจะใช้สิทธิจ่ายเงินระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวในอัตรา
ร้อยละ 75 ของค่าจ้างปกติให้แก่ลูกจ้างตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะไม่ต้องด้วย
หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย เมื่อสัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน ลูกจ้าง
พร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้าง แต่นายจ้างเป็นฝ่ายไม่ให้มาทำงาน นายจ้างยังมี
หน้าที่จ่ายค่าจ้างเต็ม 100% ตามสัญญาจ้างให้แก่ลูกจ้าง
กรณีตัวอย่างที่ถือได้ว่า นายจ้างมีความจำเป็นที่สำคัญมีผลกระทบต่อ
การประกอบกิจการของนายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว เช่น คดีตามคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 8193/2543 คดีนี้ บริษัท ม จำกัด นายจ้างประสบปัญหาด้านการตลาด
คำสั่งซื้อสินค้าลดลงมาก ทำให้ส่วนการประกอบมีคำสั่งซื้อลดลง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ถือได้ว่าเป็นเหตุจำเป็นที่นายจ้างสามารถสั่งให้หยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วน
เป็นการชั่วคราวได้ การที่นายจ้างสั่งให้พนักงานในส่วนการประกอบหยุดงาน
ชั่วคราวมีกำหนด 2 เดือน จึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75
ในช่วงหยุดกิจการชั่วคราวนายจ้างจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างใน
วันทำงาน เบี้ยขยันเดือนละ 1,000 บาทและค่าอาหารเดือนละ 480 บาท รวมแล้ว
ประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่มีหน้าที่
จ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างที่นายจ้างสั่งให้หยุดงานชั่วคราวอีก