Page 63 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 63

56






                  ก็ถือเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้าง เพราะหากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว นายจ้าง

                  อาจไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายด้านแรงงานจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างทำให้ลูกจ้าง

                  ต้องตกงานขาดรายได้และได้รับความเดือดร้อน สำหรับความจำเป็นที่นายจ้างจะ

                  หยิบยกขึ้นอ้าง จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบ


                  กิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

                  มิใช่ความจำเป็นทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกิจการของนายจ้างมากนัก

                  อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวต้องมีกำหนดเวลา


                  แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร


                                 คดีเรื่องนี้ บริษัท ช จำกัด ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องคำนวณ

                  ไฟฟ้า (คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์) นายทองเอื้อกับพวกทำงานเป็นลูกจ้าง  ในระหว่าง

                                                             วันที่ 1 กันยายน 2545 ถึงวันที่

                                                             30 พฤศจิกายน 2545 บริษัท ช จำกัด

                                                             นายจ้างมีคำสั่งให้นายทองเอื้อและลูกจ้าง


                                                             บางส่วนจำนวน 444 คน หยุดงานชั่วคราว

                                                             เป็นระยะๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน

                                                             2 วัน รวม 31 วัน โดยนายจ้างจ่ายเงิน


                  ร้อยละ 50 ของค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง นายทองเอื้อและลูกจ้างอื่น  เห็นว่า กรณีไม่ต้อง

                  ด้วยมาตรา 75 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างร้อยละ 100 ของค่าจ้างปกติ ไม่ใช่เพียง

                  ร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติ พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วเห็นว่า ไม่เข้า

                  เงื่อนไขตามมาตรา 75 และมีคำสั่งให้บริษัท ช จำกัด จ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างอีกร้อยละ 50

                  ให้แก่นายทองเอื้อกับพวก บริษัท ช จำกัด ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจ


                  แรงงานและฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลแรงงานภาค 2

                  ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษายกฟ้อง บริษัท ช จำกัด อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกา

                  แผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า แม้บริษัท ช จำกัด จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง


                  ก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของบริษัท ช จำกัด ดังกล่าวเป็นการหยุดงาน
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68