Page 62 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 62
55
ปัจจุบันมาตรา 75 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้อง
หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญ อันมี
ผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถ
ประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง
ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุด
กิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน ณ สถานที่จ่ายเงิน
ตามมาตรา 55 และภายในกำหนดเวลาการจ่ายเงินตามมาตรา 70 (1)”
หลักเกณฑ์การหยุดกิจการชั่วคราวและการจ่ายเงินตามกฎหมาย
การใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75
มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
ุ
ประการแรก นายจ้างต้องมีความจำเป็นที่สำคัญในการหยดกิจการ
ชั่วคราว
นายจ้างจะใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราวได้ก็ต่อเมื่อ มีความจำเป็น
โดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้
นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ความจำเป็นที่ยกขึ้นเป็นเหตุให้ต้อง
หยุดกิจการชั่วคราวจะต้องเป็นความจำเป็นอย่างสำคัญที่มีผลกระทบต่อการประกอบ
กิจการของนายจ้างอย่างมาก มิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทั่วไป หรือเล็กๆ น้อยๆ
ศาลฎีกาในคำพิพากษาฎีกาที่ 6960/2548 วินิจฉัยวางหลักว่า
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 ต้องการคุ้มครองนายจ้างกรณีประสบ
ปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว แต่ยังมีความประสงค์จะประกอบ
กิจการต่อไป เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายจึงให้นายจ้างรับภาระจ่ายเงินเพียงครึ่งเดียวของ
ค่าจ้าง (กฎหมายในขณะนั้น) แทนที่จะต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนแต่ในขณะเดียวกัน