Page 58 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 58

51






                  ผู้เขียนขออธิบายโดยมีรายละเอียด ดังนี้


                                เดิมหยุดกิจการชั่วคราวอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                                แต่เดิมไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานบัญญัติสิทธิและหน้าที่ระหว่าง

                  นายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องการหยุดกิจการชั่วคราวไว้ สิทธิและหน้าที่จึงเป็นไป

                  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เคยมีคดีพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง


                  เกี่ยวกับการหยุดกิจการชั่วคราว เป็นคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525

                  คดีเรื่องนี้บริษัท ฟ จำกัด นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากน้ำท่วม

                  และสั่งพักงานลูกจ้างไม่ต้องมาทำงาน ต่อมาลูกจ้างขอกลับเข้าทำงานแต่บริษัท ฟ จำกัด


                  เห็นว่าจำเป็นต้องสำรวจวัตถุดิบและความเสียหายเสียก่อน ลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าทำงาน

                  จึงไปร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดนนทบุรี บริษัท ฟ จำกัด ชี้แจงว่า

                  ไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้าง และภายหลังมีประกาศรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แต่ลูกจ้าง

                  บางส่วนไม่กลับเข้าทำงานและฟ้องนายจ้างเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

                  ค่าชดเชยกับค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกพักงานต่อศาลแรงงานกลาง























                                คดีนี้นางสาวซิมเป็นโจทก บริษัท ฟ. จำกัด เป็นจำเลย ความว่า โจทก์
                                                          ์
                  ทำงานเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท ฟ. จำกัด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2523

                  บริษัท ฟ.จำกัดสั่งพักงานนางสาวซิมเพราะน้ำท่วมโรงงาน จนเมื่อวันที่ 3 มกราคม

                  2524 นางสาวซิมขอเข้าทำงาน แต่บริษัท ฟ. จำกัดแจ้งให้รอไปก่อนและในวันที่


                  7 มกราคม 2524 นางสาวซิมขอเข้าทำงานอีก แต่บริษัท ฟ. จำกัด เลิกจ้าง
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63