Page 61 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 61
54
จากแนวคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว เห็นได้ว่าลำพังการที่นายจ้างปิด
้
โรงงานหรือหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ไม่เป็นการพ้นวิสัยที่นายจ้างจะจ่ายค่าจาง
ให้แก่ลูกจ้าง ดังนั้น นายจ้างยังมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างในระหว่างหยุด
กิจการชั่วคราวให้แก่ลูกจ้าง
ั่
ต่อมาการหยุดกิจการชวคราวอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและ
์
พาณิชยและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ในปี พ.ศ. 2541 มีการตรา
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดสิทธิ
และหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในกรณี
หยุดกิจการชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะ
ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. 2541 โดยกำหนดหลักเกณฑ์สำคัญให้นายจ้างจ่ายเงินไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติให้แก่ลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการทั้งหมดหรือ
แต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงานฯ ฉบับเดิม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551 ให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เป็นไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 75 ของค่าจ้างปกติให้แก่ลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว รวมทั้ง
กำหนดหน้าที่ให้นายจ้างทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน
ในเขตพื้นที่ทราบล่วงหน้าก่อนหยุดกิจการชั่วคราวไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ
และในปี 2562 มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 75 อีกครั้ง โดยพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ให้นายจ้างจ่ายเงินในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว
ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง และจ่ายอย่างน้อยเดือนละครั้ง รวมทั้งแก้ไขให้นายจ้าง
ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดกรณีไม่จ่ายเงินระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว
ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง