Page 318 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 318
๓๐๕
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพอรวบรวมปัญหาการออกหมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในกรณีต่าง ๆ
ื่
ศึกษาหลักกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการออกหมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุด ศึกษาความหมายของ
ื่
ค าว่า นักโทษเด็ดขาด เพอทราบถึงสิทธิและประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เพื่อให้การออกหมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นไปตาม
หลักกฎหมายและมีผลบังคับแก่จ าเลยเสมอกัน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
๑. เพื่อทราบหลักกฎหมายว่าคดีอาญาถึงที่สุดเมื่อใด
๒. เพื่อทราบแนวค าวินิจฉัยของศาลฎีกาในกรณีต่าง ๆ ว่าคดีถึงที่สุดเมื่อใด
๓. เพื่อให้การออกหมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุดของศาลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
๔. เพอเสนอแนะแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการออกหมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้มีความชัดเจน
ื่
ครอบคลุมปัญหาในทุกกรณี เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติต้องตีความซึ่งอาจแตกต่างกันได้
แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
โทษทางอาญาและวัตถุประสงค์ในการลงโทษ
โทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘ มี ๕ สถาน ได้แก่ ประหารชีวิต จ าคุก
ั
กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน โทษที่ลงแก่จ าเลยขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระท าและอตราโทษที่กฎหมาย
ก าหนดส าหรับความผิดนั้น
การลงโทษมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ได้รับโทษรู้สึกส านึกว่าการกระท าของตนเป็นการกระท าผิดอนเป็น
ั
พฤติกรรมที่คนในสังคมส่วนใหญ่ไม่ประสงค์ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ต้องเข้าสู่กระบวนการแก้ไขพฤติกรรม
ื่
มนุษย์ เพอเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นให้หมดไป เรื่องนี้ในทางทฤษฎีหรือปรัชญาการลงโทษได้อธิบายถึง
วัตถุประสงค์ของการลงโทษที่ส าคัญมีดังนี้
ื่
๑. การลงโทษเพอเป็นการทดแทน (Retribution) วัตถุประสงค์ของการลงโทษข้อนี้เพอความ
ื่
ยุติธรรม ผู้กระท าความผิดต้องได้รับโทษเป็นการทดแทน หรือจะพดอกอย่างหนึ่งคือ การกระท าความผิด
ู
ี
เป็นกรรมชั่ว เมื่อผู้ใดกระท าความผิดก็ต้องชดใช้กรรมของตนโดยการรับโทษ และยังมีความคิดว่า ถ้าสังคม
ไม่ลงโทษผู้กระท าความผิดก็เท่ากับสังคมยอมรับรองการกระท าของเขา และด้วยเหตุผลนั้นก็มีผลเสมือนว่า